วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศักยภาพด้านการผลิตไฟฟ้าของจังหวัดราชบุรี


โรงไฟฟ้าราชบุรี
ที่มาของภาพ
http://www.thaicabincrew.com/forums/viewtopic.php?f=6&t=37120






















จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีโรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer : IPP) จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งนี้ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และใช้นำมันดีเซลกับน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำรอง มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 5,745 เมกะวัตต์ ซึ่งก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ดังกล่าว ได้มาจากแหล่งยาดานาและเยตากูของประเทศพม่า โดยที่โรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด, บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด และบริษัท ไตรเอนเนอจี้ จำกัด ตามลำดับ

นอกจากนี้ จ.ราชบุรี ยังมีโรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer : SPP) ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองในโรงงานหรือกิจการส่วนตัว และจำหน่ายไฟฟ้าส่วนที่เหลือคืนให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งนี้ เป็นโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ ใช้ชานอ้อยและก็าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 75.5 เมกะวัตต์ โดยที่โรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด, โรงงานน้ำตาลราชบุรี และบริษัท สยามคราฟท์ อุตสาหกรรมจำกัด

และ จ.ราชบุรียังมีโรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very small Power Producer : VSPP) ที่ผลิตไฟฟ้าเองในกิจการและจำหน่ายไฟฟ้าส่วนที่เหลือคืนให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งโรงไฟฟ้าประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง เช่น ฟาร์มสุกร และโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น

รายชื่อผู้ผลิตไฟฟ้าใน จ.ราชบุรี

เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
  1. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ต.พิกุลทอง อ.เมืองราชบุรี กำลังการผลิต 3,645 เมกะวัตต์ ประเภทพลังความร้อนร่วม
  2. บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ประเภทพลังความร้อนร่วม
  3. บริษัท ไตรเอนเนอจี้ จำกัด ต.หินกอง อ.เมือง กำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ ประเภทพลังความร้อนร่วม
  4. บริษัท สยามคราฟท์ อุตสาหกรรม จำกัด ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
  5. บริษัท เอเชี่ยนสุพีเรียฟู้ด จำกัด ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 3 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันแก๊ส
เชื้อเพลิงกากอ้อย
  1. บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 27.5 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
  2. บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 18 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
เชื้อเพลิงถ่านหิน
  • บริษัท ราชาชูรส จำกัด ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
เชื้อเพลิงน้ำเสีย
  • หจก.อู๋ พาวเวอร์ แพนท์ ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 0.482 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
เชื้อเพลิงมูลสัตว์
  1. บริษัท เอส.พี.เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ กำลังการผลิต 2 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  2. วี.ซี.เอฟ กรุ๊ป จำกัด (วีระชัย ฟาร์ม) ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ กำลังการผลิต 1.9 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  3. บริษัท หนองบัว โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ต.บ่อกระดาน อ.ปากท่อ กำลังการผลิต 1.42 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  4. หจก.สุวดี ผลิตไฟฟ้า (อุดมเดช ฟาร์ม) ต.ห้วยไผ่ อ.เมืองราชบุรี กำลังการผลิต 0.45 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  5. วิเชียรฟาร์ม ต.จอมบึง อ.จอมบึง กำลังการผลิต 0.4 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  6. กิตติศักดิ์ฟาร์ม ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 0.16 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  7. คุณปรากาญจน์ กลิ่นสอน (ฟาร์มสุกร)  ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 0.16 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  8. คุณธีระ  อภิรัตนศิริเชษฐ์ (วิรัตน์ ฟาร์ม)  ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 0.02 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas

ที่มาข้อมูล
สำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี. (2553). สถานการณ์พลังงานจังหวัดราชบุรี 2553. กระทรวงพลังงาน. (หน้า 93-129)
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถานการณ์การใช้พลังงานจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2552

ภาพประกอบที่ 1
การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจำแนกตามชนิดพลังงาน จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2552
ในปี พ.ศ.2552 จังหวัดราชบุรี (ดูภาพประกอบที่ 1) มีปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายรวมทั้งสิ้น 1,024.16 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นมูลค่าการใช้พลังงานรวม 34,320 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.54 ของประเทศ โดยมีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนร้อยละ 78.83 และพลังงานทดแทนร้อยละ 21.17 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด ทั้งนี้การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มีปริมาณ 849.20 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) ประกอบด้วย
  1. น้ำมันสำเร็จรูป มีการใช้ 364.45 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 35.68
  2. ไฟฟ้า มีการใช้ 148.69 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 14.52
  3. ถ่านหิน/ลิกไนต์ มีการใช้ 249.45 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 24.36
  4. ก๊าซธรรมชาติ มีการใช้ 43.72 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 4.27
  5. พลังงานทดแทน (ฟืน ถ่าน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะและก๊าซชีวภาพ) มีการใช้ 216.86 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 21.17


ภาพประกอบที่ 2
 การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2552

การใช้พลังงานด้านที่อยู่อาศัย (ดูภาพประกอบที่ 2) ใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 140.124 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 13.68 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 23.189 ktoe (19.872,222 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 16.55
  2. ไฟฟ้า จำนวน 32.442 ktoe (380,730,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 23.15
  3. ถ่านไม้ จำนวน 44.532 ktoe (65,140,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 31.78
  4. ฟืน จำนวน 39.819 ktoe (105,210,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 28.42
  5. แกลบ จำนวน 0.102 ktoe (300,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 0.07
  6. น้ำมันก๊าด จำนวน 0.040 ktoe (5,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.03
การใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 36.808 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 3.59 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 0.026 ktoe (22,777 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 0.07
  2. ไฟฟ้า จำนวน 0.050 ktoe (590,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 0.14
  3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 36.703 ktoe (42,580,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 99.71
  4. น้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 0.029 ktoe (40,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.08
การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 514.546 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 50.24 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 15.837 ktoe (13,572,222 กิโลกรรม) คิดเป็นร้อยละ 3.08
  2. ไฟฟ้า จำนวน 64.876 ktoe (761,370,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 12.60
  3. ก๊าซธรรมชาติ จำนวน 29.729 ktoe (1,210,000,000 ลูกบาศก์ฟุต) คิดเป็นร้อยละ 5.78
  4. ถ่านหิน จำนวน 249.451 ktoe (399,640,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 48.48
  5. น้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 0.447 ktoe (600,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.09
  6. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 5,447 ktoe (6,320,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 1.06
  7. น้ำมันดีเซล B5 จำนวน 2.482 ktoe (2,880,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.48
  8. น้ำมันเตา จำนวน 13.873 ktoe (14,740,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 2.70
  9. ฟืน จำนวน 6.123 ktoe (16,180,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 1.19
  10. แกลบ จำนวน 13.684 ktoe (40,150,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 2.66
  11. กากอ้อย จำนวน 87.029 ktoe (488,000,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 16.91
  12. วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จำนวน 25.568 ktoe (85,170,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 4.97
การใช้พลังงานในภาคคมนาคมขนส่ง (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 274.799 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 26.83 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 4.661 ktoe (3,994,444 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 1.70
  2. ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 13.991 ktoe (566,180,000 ลูกบาศก์ฟุต) คิดเป็นร้อยละ 5.09
  3. น้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 23.588 ktoe (31,660,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 8.58
  4. น้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 2.436 ktoe (3,270,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.89
  5. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 150.999 ktoe (175,178,078 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 54.95
  6. น้ำมันดีเซล B5 จำนวน 57.399 ktoe (66,590,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 20.89
  7. แก๊สโซฮอล์ 91 จำนวน 6.243 ktoe (8,380,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 2.27
  8. แก๊สโซฮอล์ 95 จำนวน 15.482 ktoe (20,780,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 5.63
การใช้พลังงานในภาคพาณิชยกรรมและบริการ (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 54.049 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 5.28 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 5.322 ktoe (4,561,111 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 9.85
  2. ไฟฟ้า จำนวน 48.718 ktoe (571,750,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 90.13
  3. น้ำมันเตา จำนวน 0.009 ktoe (10,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.02
การใช้พลังงานภาคอื่นๆ (เหมืองแร่และการก่อสร้าง) (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 3.838 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ  0.37 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ไฟฟ้า จำนวน 2.604 ktoe (30,560,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 67.85
  2. น้ำมันเตา จำนวน 0.244 ktoe (260,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 6.36
  3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 0.990 ktoe (1,150,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 25.79
ที่มาข้อมูล
สำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี. (2553). สถานการณ์พลังงานจังหวัดราชบุรี 2553. กระทรวงพลังงาน. (หน้า 32-60)
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โครงการตามแผนปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2554 จังหวัดราชบุรี

ในบัญชีโครงการและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ ตามแผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2554 ของจังหวัดราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 171,557,900 บาท มีโครงการที่น่าสนใจติดตามผลการดำเนินการ ดังนี้

ผลผลิต : การพัฒนาเศรษฐกิจ
กิจกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างถนน  ระบบประปา และระบบท่อระบายน้ำ แต่ยังมีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านหนองปากชัฎ ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง จำนวน 6,500,000 บาท (โครงการชลประทานราชบุรี)
  • ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านบึงเหนือ ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จำนวน 3,500,000 บาท (โครงการชลประทานราชบุรี)
  • ฯลฯ
กิจกรรม พัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ  มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • พัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงรุก จำนวน 2,000,000 บาท (ท่องเที่ยวและกีฬา จ.ราชบุรี)
  • ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกเก้าชั้น จำนวน 2,000,000 บาท (อ.สวนผึ้ง)
  • ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกห้วยสวนพลู จำนวน 2,000,000 บาท (อ.สวนผึ้ง)
  • ถนนสายวัฒนธรรม จำนวน 791,000 บาท (สนง.วัฒนธรรม จ.ราชบุรี)
  • "แปดเสน่ห์ราชบุรี แปดวิถีไทย สานใยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" จำนวน 800,000 บาท (สนง.วัฒนธรรม จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาการรับรองมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว และการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย จำนวน 500,000 บาท  (มรภ.หมู่บ้านจอมบึง)
  • พัฒนาจุดชมวิวบริเวณยอดเขาสน จำนวน 2,000,000 บาท (อ.สวนผึ้ง)
  • ฯลฯ
กิจกรรม พัฒนาตลาด การค้า และการลงทุน มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • ส่งเสริมการผลิตพืชอาหารปลอดภัย (GAP) จำนวน 2,842,000 บาท (เกษตร จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาระบบการผลิตและรับรองฟาร์มสัตว์น้ำ (GAP) จำนวน 1,000,000 บาท (ประมง จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาศักยภาพการผลิตน้ำนมในฟาร์มโคนมมาตรฐาน จำนวน 1,180,000 บาท (ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี)
  • RATCHABURI GOAT CENTER จำนวน 382,000 บาท (ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี)
  • ฯลฯ

ผลผลิต : การพัฒนาด้านสังคม
กิจกรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิต มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • พัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 1,570,000 บาท (เกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี)
  • สวนไม้มงคลพระราชทาน สวนไม้วรรณคดี และสวนไม้สมุนไพร ในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 2,403,000 บาท (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาระบบน้ำสนับสนุนพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 12,000,000 บาท (โครงการชลประทานราชบุรี)
  • พัฒนาชุมชนเกษตรกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 2,550,0000 บาท (เกษตร จ.ราชบุรี)
  • ฯลฯ
กิจกรรม สร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • ปรับปรุงอาคารสโมสรเสือป่าเป็นพิพิธภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1,500,000 บาท (ศูนย์อนามัยที่ 4)
  • ส่งเสริมการทอผ้าพื้นเมือง (กะเหรี่ยง) จำนวน 90,000 บาท (อ.สวนผึ้ง/โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง)
  • จัดทำถนนเด็กเดิน (เปิดพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน) จำนวน 648,000 บาท (ศตส.จ.รบ.)
  • ฯลฯ

ผลผลิต : การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรม อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • โครงป้องกันการบุกรุกและฟื้นฟูสภาพป่า (รวม 4 กิจกรรม) จำนวน 2,219,000 บาท (ทรัพยากรป่าไม้ที่ 10)
  • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จำนวน 1,500,000 บาท(อุทยานฯ)
กิจกรรม อนรุักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ  มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • โครงการพัฒนาความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (รวม 4 กิจกรรม) จำนวน 7,500,000 บาท
  • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และรักษาสภาพแวดล้อม จำนวน 2,990,000 บาท (อ.บ้านโป่ง)

ผลผลิต : การบริหารจัดการ
  • มีโครงการเดียวคือ ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จำนวน 10,000,000 บาท (สำนักงานจังหวัดราชบุรี)

-------------------------------------------------------

ที่มา :
สำนักงานจังหวัดราชบุรี กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี. (2553). การประชุมคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดราชบุรี ครั้งที่ 1/2553. เอกสารประกอบการประชุม เมื่อ 22 ต.ค.2553 ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ อ.เมือง จ.ราชบุรี.
อ่านต่อ >>