วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศึกษารถไฟทางคู่ นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน (ตอนที่ 2)


การศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ เส้นทางสายใต้ : ช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถลดเวลาการเดินทางจากรุงเทพฯ-หัวหิน จากเดิม 3 ชั่วโมง 30 นาที ลดลงมาเป็น 2 ชั่วโมง

สถานีต่างๆ ใน 165 กิโลเมตร ผ่าน 27 สถานี และ 4 ป้ายหยุดรถที่ตั้งอยู่ตามชุมชนในแต่ละอำเภอตามแนวเส้นทางรถไฟ (* หมายถึง ป้ายหยุดรถ)
  1. นครปฐม
  2. พระราชวังสนามจันทร์*
  3. โพรงมะเดื่อ
  4. คลองบางตาล
  5. ชุมทางหนองปลาดุก
  6. บ้านโป่ง
  7. นครชุมน์
  8. คลองตาคต
  9. โพธาราม
  10. เจ็ดเสมียน
  11. บ้านกล้วย
  12. สะพานราชบุรี*
  13. ราชบุรี
  14. บ้านคูบัว
  15. บ่อตะคร้อ
  16. บ้านป่าไก่*
  17. ปากท่อ
  18. ห้วยโรง*
  19. บางเค็ม
  20. เขาย้อย
  21. หนองปลาไหล
  22. บางจาก
  23. เพชรบุรี
  24. เขาทโมน
  25. หนองไม้เหลือง
  26. หนองจอก
  27. หนองศาลา
  28. บ้านชะอำ
  29. บ้านทรายเหนือ
  30. ห้วยทรายใต้
  31. หัวหิน
ทางคู่สู่แดนใต้เสริมสร้างการท่องเที่ยว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่สวยงามและได้รับความนิยมจากชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมโยงฐานผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก เป็นประตูการค้าและการขนส่งเชืื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาภาคใต้จำเป็นต้องอาศัยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจในการที่มีที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการขนส่งสินค้า โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ อันเป็นโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งที่มีความทันสมัย

ทางคู่ดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
ในการดำเนินโครงการ ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแนวเส้นทางช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน พบว่า มีแม่น้ำสายต่างๆ อยู่ในแนวเส้นทาง เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น และมีบางช่วงของแนวเส้นทางที่ผ่านชุมชน การดำเนินงานอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านการระบายน้ำ คุณภาพอากาศ การคมนาคมขนส่ง เสียงและความสั่นสะเทือน การโยกย้าย รวมทั้งการแบ่งแยกชุมชน จึงพิจารณาออกแบบ แก้ไขมาตรฐานการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มความเหมาะสม และมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด โดยกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญดังนี้

การแบ่งแยกชุมชน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : การออกแบบรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางเพื่อป้องกันอันตรายและลดอุบัติเหตุ ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกชุมชน ทำให้คนในบริเวณนั้นสัญจรไปมาลำบากขึ้น
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : จัดให้มีทางเชื่อมหรือทางลอดในระยะที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรแก่ชุมชน, ตรวจสอบการใช้งานของทางลอด ทางข้าม และสะพานลอยอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีปัญหาต้องรีบแก้ไขทันที

การอพยพโยกย้าย
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : การพัฒนาโครงการเน้นการใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำให้ชุมชนที่ปลูกสร้างเข้ามารุกล้ำพื้นที่ดังกล่าวต้องโยกย้ายออกไป
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : ประชาสัมพันธ์แนวทางในการให้ความช่วยเหลือด้านอพยพโยกย้ายสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ, จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน, สำรวจรายละเอียดทรัพย์สินที่จะต่้องรื้อย้ายอย่างละเอียด, ดำเนินการจ่ายค่ารื้อย้ายและให้ความช่วยเหลือด้านการอพยพโยกย้ายตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นธรรม

การระบายน้ำ
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : โครงสร้างสะพานและเสาตอม่อในบริเวณที่มีแม่น้ำอยู่ในแนวเส้นทาง เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น อาจก่อให้เกิดการกีดขวางการไหลของน้ำและลดประสิทธิภาพของการระบายน้ำ
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : ออกแบบโครงสร้างที่ผ่านน้ำ โดยกำหนดให้ตวามยาวสะพานมากกว่าหรือเท่ากับความกว้างของทางน้ำ เพื่อรองรับการระบายน้ำ, หลีกเหลี่ยงการเปิดหน้าดินบริเวณริมน้ำพร้อมกันทั้งหมด โดยเลือกเปิดพื้นที่เฉพาะบริเวณที่ทำงานจริงเท่านั้น, การกองดิน ทราย และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 50 เมตร, ควบคุมการชะล้างหน้าดินบริเวณริมน้ำ โดยการปลูกพืชคลุมดิน

เสียงและความสั่นสะเทือน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทางรถไฟน้อยกว่า 200 เมตร จะได้รับผลกระทบทางเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากการขุดเจาะการก่อสร้าง และการขนส่ง
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : กำหนดให้ช่วงเวลาก่อสร้างระหว่างเวลา 08:00-17:00 น., จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน, ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงแผนการก่อสร้าง

การคมนาคมขนส่ง
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : การก่อสร้างที่กีดขวางการจราจรในบริเวณพื้นที่โครงการอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการจราจรติดขัด
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : ประชาสัมพันธ์และปิดประกาศล่วงหน้า, กำหนดให้มีป้ายเตือน แผงกั้น กรวย แสงสว่าง ไฟกระพริบ ในแต่ละส่วนของพื้นที่ก่อสร้าง, ควบคุม/จัดการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ เพื่อป้องกันปัญหาด้านการจราจรในถนนบริเวณพื้นที่โครงการ

ประโยชน์ของการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ต่อภูมิภาค
  • ย่นระยะทางจากเส้นทางเดิมอันเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน และลดระยะเวลาด้านการขนส่ง ทำให้ต้นทุนในการขนส่งต่ำลง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยให้เดินทางถึงที่หมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับนักท่องเที่ยวที่มุ่งหน้าลงสู่ภาคใต้
  • เชื่อมต่อเครือข่ายรถไฟทางคู่ลงสู่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์และจังหวัดชุมพร ช่วยเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวและเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าภูมิภาคได้เป็นอย่างดี
  • สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ 273,000 ล้านบาทภายใน 30 ปี
ประโยชน์ของระบบรถไฟทางคู่สายใต้ระยะเร่งด่วน ช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน
เมื่อรถไฟทางคู่ เส้นทางสายใต้ช่วง นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน เปิดให้บริการใน พ.ศ.2558 จะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
  • เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางรถไฟ จาก 1 ล้านตันต่อปี เป็น 1.5 ล้านตันต่อปี
  • เพิ่มจำนวนผู้โดยสารจากปีละ 6 ล้านคนเป็น 12 ล้านคน
  • เพิ่มความจุของทางเฉลี่ยได้มากกว่า 200 ขบวนต่อวัน
  • เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ในการเดินทางจากกรุงเทพฯ-หัวหิน จากปัจจุบันเกือบ  3 ชั่วโมง จะเหลือเพียงไม่ถึง 2 ชั่วโมง
ที่มา :
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2553). ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ เส้นทางสายใต้. เอกสารข้อเท็จจริง ชุดที่ 2 (มิถุนายน 2553) ใช้ประกอบการลงพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ครั้งที่ 2. 

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จะสร้างอยู่แล้วแต่ชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ข้างทางรถไฟยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลเลยครอบครัวผมอยู่ที่นี้มาเกือบ30ปีแล้วถ้าอยู่ดีๆมาไล่ให้รื้อออกไปโดยไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนก็ขอให้เห็นใจคนจนที่ไม่มีที่จะอยู่บ้างบ้านทุกหลังที่ปลูกในที่ของทางรถไฟทุกหลังไม่มีที่เป็นของตัวเองก็เลยต้องอาศัยที่ของทางรถไฟอยู่ถ้าเรามีที่ของเราเองเราคงไม่มาอยู่ที่ของทางรถไฟหรอกขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลให้ความยุติธรรมแก่พวกเราด้วย(ชุมชนทางรถไฟหลังวัดพรมวิหาร ต.หนองโสน อ.เมือง จ.เพชรบุรี ผู้เดือดร้อนรอท่านอยู่ 0871602223)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ก็ ไปเช่าที่วัดอยู่ซิ