วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี


โครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี ตั้งอยู่บริเวณเทือกอุทยานหินเขางู ต.เขางู อ.เมือง จ.ราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้แก่ข้าราชการ พ่อต้า ประชาชน และพสกนิกรทุกภาคส่วนในเรื่องโครงการตามพระราชดำริต่างๆ โครงการประกอบด้วยพื้นที่ 5 ส่วน ดังนี้
พื้นที่ส่วนที่ 1 เนื้อที่ 240 ไร่ จะก่อสร้างพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นประติมากรรมลายเส้นโลหะ ขนาดสูง 60 เมตร ประดิษฐานอย่างถาวรบนหน้าผาเขางู ซึ่งสูง 180 เมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบของกรมศิลปากร งบประมาณการก่อสร้างจะใช้จากเงินบริจาคจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ

-อาคารหลัก แสดงพระราชประวัติพระบรมราชจักรีวงศ์ในอดีตทุกพระองค์ พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จเจ้าฟ้าทุกพระองค์ ส่วนแสดงประวัติศาสตร์ราชบุรี แสดงนิทรรศการเพื่อการศึกษาเรียนรู้โครงการตามพระราชดำริ ในทุกประเภทของโครงการตามพระราชดำริทั่วประเทศ
พื้นที่ส่วนที่ 2 พื้นที่ต่อเนื่องเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ ประกอบด้วย
  • สวนไม้ในวรรณดคี สวนพันธุ์ไม้สมุนไพร
  • ลานพักแรม แคมป์พักแรมของนักเรียน นักศึกษา
  • สวนป่าไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดและพื้นที่นันทนาการ
  • แปลงสาธิตโครงการตามพระราชดำริ ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่

พื้นที่ส่วนที่ 3 พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเขตโบราณสถาน ได้แก่ บริเวณเทือกเขางูทั้งหมดที่ยังมิได้ถูกระเบิดทำลาย ซึ่งยังคงสภาพป่าไม้ธรรมชาติอันเป็นที่อาศัยของฝูงลิงนับพันตัว และเขตโบราณสถานสมัยทวาราวดี-อยุธยา เนื้อที่รวมประมาณ 1 ตารางกิโลเมตรเศษ

พื้นที่ส่วนที่ 4 ที่ดินสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 51 ไร่เศษ ห่างจากพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดีประมาณ 2 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก จะเป็นศูนย์สาธิตโครงการตามพระราชดำริด้านการเกษตร ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ และโครงการแก้มลิง โดยมีที่ดินของราษฎรโดยรอบแหล่งน้ำ เข้าร่วมจัดทำการเกษตรเป็นหมู่บ้านตัวอย่างโครงการตามพระราชดำริด้านการเกษตร และการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมจำนวนเนื้อที่ดินของเกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการ ประมาณ 1,000 ไร่
พื้นที่ส่วนที่ 5 ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลเจดีย์หัก ห่างจากพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี เพียง 1 กิโลเมตรทางทิศใต้ เป็นกลุ่มเกษตรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการปลูกและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และผลิตข้าวเปลือกและข้าวสารที่มีคุณภาพ มีสมาชิกเกษตรทำนา 370 ราย 287 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 6,200 ไร่ พื้นที่ส่วนนี้ จะเป็นพื้นที่ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้การผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และการผลิตข้าวสารที่มีคุณภาพ
สถานะโครงการในปัจจุบัน
1.พื้นที่ส่วนที่ 1 ได้ดำเนินการดังนี้
1.1 จังหวัดราชบุรีได้ว่าจ้างบริษัท เคนเบอร์ จีโอเทคนิค(ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการเสริมสร้างความมั่นคงเบื้องต้นหน้าผาเขางู เพื่อทำความมั่นคงแข็งแรงของหน้าผาเขางูก่อนการสร้างพระฉายาสาทิสลักษณ์ โดยใช้งบประมาณ 9,262,000 บาท (สัญญาเริ่ม 26 กันยายน 2551 และสิ้นสุดวันที่ 24 มีนาคม 2552) และจ่ายค่าควบคุมงาน จำนวน 35,250 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,297,250 บาท ปัจจุบันมียอดเงินคงเหลือที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป จำนวน 2,359,873.44 บาท
1.2 การดำเนินงานจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ และอาคารเฉลิมพระเกียรติ(สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.ราชบุรี รับผิดชอบ) มีรายละเอียด ดังนี้
1.2.1 การก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ (พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแบบแปลน ทำให้จำนวนหลุมที่ต้องเจาะเพื่อทำการยึดหน้าผามีจำนวนมากขึ้น โดยจำเป็นต้องเสริมฐานการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 500 จุด งบประมาณประมาณ 5,000,000 บาท จึงจะดำเนินการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่ง จ.ราชบุรี ได้ตั้งงบประมาณสนับสนุนโดยใช้งบพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 จำนวน 5,500,000 บาท
1.2.2 การก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคารหมายเลข 9) แบบแปลนและแผนงานก่อสร้างได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว แต่เนื่อจากการก่อสร้างต้องใช้งบประมาณประมาณ 230,000,000 บาท ปัจจุบันไม่สามารถหาแหล่งงบประมาณสนับสนุนได้
2.พื้นที่ส่วนที่ 2 ได้ดำเนินการดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่บริเวณเทือกเขางู (สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี รับผิดชอบ) ได้รับการสนับสนุนจากงบพัฒนา จ.ราชบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 5 โครงการ คือ
2.1 โครงการสวนไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด งบประมาณ 760,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด ดำเนินการปลูกในพื้นที่ 10 ไร่
2.2 โครงการสวนไม้สมุนไพรและสวนไม้ในวรรณคดี งบประมาณ 1,500,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกรวบรวมไว้ในอุทยานแห่งความจงรักภักดี ในเนื้อที่ 30 ไร่
2.3 โครงการจัดระบบน้ำหยดหล่อเลี้ยงแปลงสาธิตอุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 500,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำระบบน้ำในการดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูกในอุทยานแห่งความจงรักภักดี ในเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่
2.4 โครงการพัฒนาแหล่งศึกษาพันธุ์ไม้ในอุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 136,960 บาท เพื่อวัตถุประสงค์จัดทำป้ายเพื่อแสดงรายละเอียดต้นไม้และป้านสวนไม้
2.5 โครงการจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณอุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 328,000 บาท เพื่อก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์พร้อมห้องสุขา จำนวน 1 หลัง
3.พื้นที่ส่วนที่ 3 ได้ปรับปรุงโบราณสถานที่มีอยู่คือ "โครงการปรับปรุงบันไดทางขึ้นรอยพระพุทธบาทถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม" (สำนักงานศิลปากรที่ 1 รับผิดชอบ) งบประมาณ 1,500,000 บาท ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
4. พื้นที่ส่วนที่ 4 ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์สาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ในโครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี รับผิดชอบ) ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2552ได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงการศูนย์สาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ (ศูนย์การเรียนรู้บ้านหนองมน) งบประมาณทั้งสิ้น 964,000 บาท เพื่อศึกษาเรียนรู้โครงการตามพระราชดำริด้านการเกษตร ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร โดยมีกิจกรรม ดังนี้
  • กิจกรรมอำนวยการ งบประมาณ 114,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการเพาะเห็ด งบประมาณ 92,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการเลี้ยงปลา งบประมาณ 88,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการเลี้ยงสัตว์ปีก งบประมาณ 80,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการปลูกพืช งบประมาณ 82,500 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการปลูกข้าว งบประมาณ 20,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ งบประมาณ 17,500 บาท
  • กิจกรรมปรับปรุงสภาพพื้นที่แปลงและทำถนนลูกรัง งบประมาณ 470,000 บาท

ซึ่งทุกกิจกรรมได้ดำเนินการตามแผนด้วยดี ไม่มีอุปสรรคปัญหาแต่อย่างใด

5.พื้นที่ส่วนที่ 5 ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน บ้านรังไม้แดง (สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี) ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชน งบประมาณ 2,100,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อการสร้างศูนย์เรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ชาวนา เป๋นศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวของเกษตรกร และการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมชาวนา และเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านผลิตข้าวแบบครบวงจร เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตข้าวของจังหวัดราชบุรี รวมทั้งพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ได้ดังนี้

  1. ก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ชาวนา งบประมาณ 1,500,000 บาท
  2. จัดสร้างพระแม่โพสพ งบประมาณ 100,000 บาท ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ภายนศูนย์เรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ชาวนา งบประมาณ 120,000 บาท
  4. จัดซื้อเครื่องโสตทัศนูปกรณ์พร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 200,000 บาท
  5. จัดทำนิทรรศการเทคโนโลยีการเกษตร งบประมาณ 90,000 บาท
  6. จัดทำเอกสารแนะนำ งบประมาณ 90,000 บาท

6.จังหวัดราชบุรีได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดีในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 คือ "โครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริในอุทยานแห่งความจงรักภักดี" งบประมาณ 27,473,000 บาท โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (ศูนย์การเรียนรู้บ้านหนองใน) งบประมาณ 1,570,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 3
  2. กิจกรรมปลูกสวนไม้มงคลพระราชทานและสวนไม้วรรณคดีและสวนไม้สมุนไพร งบประมาณ 2,403,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 2
  3. กิจกรรมพัฒนาระบบน้ำสนับสนุนพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 12,000,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 1
  4. กิจกรรมพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี (ศูนย์การเรียนรู้บ้านรังไม้แดง) งบประมาณ 6,000,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 5
  5. กิจกรรมปรับเสริมความแข็งแรงหน้าผาเขางูเพื่อรองรับการก่อสร้างพระฉายาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี งบประมาณ 5,500,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 1

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมและตรวจพื้นที่โครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี เมื่อ 3 ก.พ.2553 ณ ที่ห้องประชุมคลินิกหมออาคาร โดยมี นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธาน

ไม่มีความคิดเห็น: