วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ที่ตั้ง : ม.2 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โทร.0-3222-6744 โทรสาร.0-3222-6744 (ดูแผนที่)
ความเป็นมา
เดิมพื้นที่โครงการเป็นฟาร์มปศุสัตว์และปลูกพืชไร่ มีการใช้ที่ดินอย่างผิดวิธี ทำให้หน้าดินเสียหาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดความแห้งแล้งไม่สามารถปลูกพืชได้ หรือปลูกได้แต่ผลผลิตลดลงมาก พื้นที่ถูกปล่อย หรือปลูกได้แต่ผลผลิตลดลงมาก พื้นที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง บางส่วนมีการขุดลูกรังไปขาย ดินส่วนใหญ่เป็นดินตื้น เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและปนกรวด มีชั้นดานแข็งอยู่ข้างล่างลึกประมาณ 40 เซนติเมตร จากผิวดินบน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529 ได้มีพระราชดำริ "ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ โดยทำการทดสอบวางแผน และจัดระบบปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในลักษณะศูนย์ศึกษาการพัฒนาขนาดย่อม"
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสนองพระราชดำริพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  2. เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตทดสอบวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรูปแบบ และส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร
  3. เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่โครงการให้เพียงพอกับการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร
  4. เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ให้คงความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  5. เป็นแหล่งศึกษาดูงาน

พื้นที่
ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 849-3-22 ไร่ ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-พื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนา 91-3-81 ไร่
-พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าถวาย 63-1-03 ไร่
-พื้นที่แปลงเดิม 694-2-38 ไร่

การดำเนินการ

งานศึกษาและพัฒนาที่ดิน
-ศึกษาพัฒนาวิธีการและรูปแบบของการอนุรักษ์ดินและน้ำ
-ศึกษาหาวิธีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
-ศึกษาวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม

งานชลประทาน
-จัดหาน้ำสนับสนุนและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในโครงการ
-ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ

งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
-ป้องกันรักษา และควบคุมไฟป่า เนื้อที่ 3,041-1-41 ไร่
-สำรวจพันธุ์ไม้ พบประมาณ 230 ชนิด และเป็นพันธุ์ไม้ที่จำแนกชนิดแล้ว 167 ชนิด
-สำรวจสัตว์ป่า พบสัตว์ชนิดต่างๆ ประมาณ 78 ชนิด
-ศึกษาระบบนิเวศป่าไม้
-จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและธรรมชาติศึกษา

งานศึกษาทดลอง และทดสอบการปลูกพืช
-ศึกษาและทดสอบการปลูกพืชชนิดต่างๆ เช่น พืชสวน พืชผัก และพืชไร่

งานประชาสัมพันธ์
-จัดฝึกอบรมและให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ

ฐานเรียนรู้

  • ฐานความลับของดิน
  • ฐานน้ำยาสารพัดประโยชน์
  • ฐานปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
  • ฐานปุ๋ยหมัก
  • ฐานจักรยานน้ำเพื่อการเกษตร
  • ฐานคนเอาถ่าน (น้ำส้มควันไม้)
  • ฐานมหัศจรรย์หญ้าแฝกและปุ๋ยพืชสดเพื่อการปรับปรุงดิน
  • ฐานพืชสมุนไพร

แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
แนวทางการจัดทรัพยากรระดับไร่นา เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ ราคาถูก และให้เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญ คือจะต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อน เป็นพระราชประสงค์อันดับแรก จึงเป็นที่มาของพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาการทำการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่
  2. เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
  3. เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจ นำไปประยุกต์ใช้

พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ม.2 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ รวมพื้นที่เฉลี่ยประมาณ 15 ไร่ แบ่งตามสัดส่วน 30-30-30-10 เปอร์เซ็นต์
-ที่อยู่อาศัย 1-2-00 ไร่
-แปลงปลูกข้าว 4-2-00 ไร่
-แปลงผลไม้ พืชไร่ และพืชผัก 4-2-00 ไร่
-สระน้ำ 4-2-00 ไร่

การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมข้าว จัดทำแปลงสาธิตการผลิตข้าวตามหลักการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ในพื้นที่ 4-2-00 ไร่
  2. กิจกรรมพืชผัก ทำการผลิตผักปลอดสารพิษตลอดฤดูกาล โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภค ผักที่ปลูกมีหลากหลายชนิด เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระจีน ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง คะน้า ชะอม มะเขือเปราะ มะละกอ ตะไคร้ พริกฯลฯ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตผักหลากหลายชนิด โดยการปลูกหมุนเวียนและรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต
  3. การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" พื้นที่ 4-2-00 ไร่ มีการปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ผสมผสานกัน เช่น กล้วย ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ มะนาว ฯลฯ
  4. กิจกรรมการใช้หญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ได้ปลูกหญ้าแฝกตามของสระเก็บน้ำ เพื่อให้ผู้ที่สนใจทั่วไปและเกษตรกรเห็นความสำคัญและประโยชน์จากหญ้าแฝก
  5. กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี จะเป็นหน่วยกลางการจัดฝึกอบรมและด้านการถ่ายทอดการเกษตรให้กัยเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจ

ที่มา :
ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเชาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี. (2553).แผ่นพับประชาสัมพันธ์.

ไม่มีความคิดเห็น: