วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง จ.ราชบุรี

กว่าจะมาเป็นสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง
ปี พ.ศ.2528 กระทรวงเกาตรและสหกรณ์ได้จัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีประจำภาคต่างๆ ภาคละ 1 แห่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในวโรกาสมหามงคลสมัย พระราชพิธีฌแลมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ 2 กรกฎาคม 2531 และในวันที่ 2 สิงหาคม 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดสวนพฤกษศาสตร์ฯ
ความเป็นมาเกี่ยวกับราชวงศ์จักรี กล่าวคือ ในปี ร.ศ.114 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินถ้ำจอมพล ได้ทรงแวะประทับพักผ่อนที่บริเวณเขาประทับช้าง ต่อมาปี พ.ศ.2547 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินเขาประทับช้างในการนำกองเสือป่าเดินทางไกล
นับแต่การดำเนินการจัดสร้างเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมา สวนพฤกษศาสตร์ฯ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่ง กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2547 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ สวนพฤกษศาสตร์ฯ จึงย้ายไปสังกัดสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 5 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จนกระทั่งปี พ.ศ.2548 สวนพฤกษศาสตร์เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 3 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
ทรัพยากรเพิ่มพูน แหล่งเรียนรู้สมบูรณ์ ศูนย์ท่องเที่ยวมาตรฐาน ก้าวหน้างานวิชาการ วรรณคดีสืบสาน องค์การพัฒนา
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ในวรรณคดี เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งศึกษาความรู้ทางวิชาการ และด้านพฤกษศาสตร์
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่ ต.ปากช่อง อ.จอมบึง, ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี พื้นที่ 1,287 ไร่
สภาพทั่วไป
ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบล้อมภูเขาประทับช้าง ชนิดของดินเป็นดินร่วนปนทราย สภาพป่ามีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ สวนพฤษศาสตร์ฯ เป็นแหล่งรวบรวมจัดปลูกพันธุ์ไม้ในวรรณคดีตามบทกลอน 10 เรื่อง อันได้แก่ อิเหนา ขุนช้างขุนแผน ดาหลัง พระอภัยมณี รามเกียรติ์ ลิลตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย อุณรุฑ กาพย์เห่เรือฯ นิราศเมืองเพชร และต้นไม้ในพุทธประวัติ ซึ่งแบ่งเป็น 33 แปลง รวมพันธุ์ไม้ 357 ชนิด และเป็นสถานที่สำหรับศึกษาความรู้ด้านทรัพยากรป่าไม้และพฤกษศาสตร์ กิจกรรมค่ายพักแรม ฐานเรียนรู้ทางธรรมชาติ ท่องเที่ยว พักผ่อน จัดประชุม อบรม แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
จุดเด่นที่น่าสนใจ
  • แปลงปลูกพรรณไม้ในวรรณคดี
  • เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบนภูเขา
  • สวนสมุนไพร
  • สวนไม้มงคลประจำจังหวัด
  • สวนไม้ในพุทธประวัติ
  • สวนไม้จามบทเพลง "อุทยานดอกไม้"

สถานที่ติดต่อ
อาคารศาลาเกษตร สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โทร.08-1944-9718

ที่มา :
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง จ.ราชบุรี. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์. แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรีปี 2553.

อ่านต่อ >>

อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริฯ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยในการศึกษาสภาพธรรมชาติ ทั้งยังทรงเล็งเห็นว่าควรจะมีการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติไว้ให้เยาวชนและราษฎรในท้องถิ่น ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจใช้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ โดยเริ่มกิจกรรมปลูกป่าชุมชน ในตำบลสวนผึ้ง และตำบลตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ต่อมาคณะทำงานที่เกี่ยวข้องจึงได้คัดเลือกพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ในความดูแลของกองทัพบก ดำเนินโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ ซึ่งมีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ สมควรแก่การอนุรักษ์และจัดเป็นสถานที่เรียนรู้ในลักษณะ "โรงมหรสพทางธรรมชาติ"
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การดำเนินงานโครงการเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมพาพันธ์ 2547 ได้เสด็จพระราชดำเนินติดตามการดำเนินงานโครงการอีกครั้ง และในการนี้ทรงเปิดป้ายอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ
วัตถุประสงค์ของอุทยานธรรมชาติวิทยา
  1. อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้เป็นสถานที่ศึกษาสภาพธรรมชาติ
  2. ทำการศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งประชาชนทั่วไป โดยระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายภายหลัง
  3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนธรรมชาติ
  4. ส่งเสริมให้ประชาชน และองค์กรราชการส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการ

แผนการดำเนินงานมี 4 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ด้านการบริการทางวิชาการ
  2. ด้านการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
  3. ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
  4. ด้านการศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติ

อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริฯ เปิดให้บริการแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจศึกษาธรรมชาติ พน้อมบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ประกอบด้วย

ศาลาข้อมูลธรรมชาติ
เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั่วไปของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ ทั้งข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ข้อมูลทางกายภาพ และข้อมูลทางชีวภาพที่สำรวจพบในพื้นที่ โดยนำมาจัดเป็นนิทรรศการ สิ่งตีพิมพ์ วิดีทัศน์ พร้อมทั้งให้บริการห้องสมุดเพื่อการสืบค้นข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในถิ่นทุรกันดานอีกด้วย โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ประกอบด้วย 2 เส้นทาง โดยในการเดินศึกษาธรรมชาติตลอดเส้นทางจะได้พบ น้ำตก ธารน้ำร้อน พรรณพืช และสัตว์ต่างๆ ซึ่งใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ถึง 3 ชั่วโมง
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
เป็นกิจกรรมที่สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนานผสานกับกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเนื้อหาเหมาะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ที่พัก
มีบริการบ้านพักและเต็นท์ ไว้สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเยาวชน ตลอดจนนักวิชาการที่ต้องการเข้าพักแรมเพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ โดยบ้านพักรองรับได้จำนวน 50 คน อีกทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์ไว้บริการ
ร้านของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์โครงการ
แหล่งรวมเครื่องดื่มและสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งหนังสือและโปสการ์ดของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในโครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริ และผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ติดต่อสอบถามรายละเอียด
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10303 โทร.0-2282-6511 ต่อ 22 โทรสาร.0-2281-3923
สำนักงานโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 254 ม.7 ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 70180 โทร.08-4938-1284
ที่มา :
สำนักงานโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์. แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี 2553.
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ที่ตั้ง : ม.2 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โทร.0-3222-6744 โทรสาร.0-3222-6744 (ดูแผนที่)
ความเป็นมา
เดิมพื้นที่โครงการเป็นฟาร์มปศุสัตว์และปลูกพืชไร่ มีการใช้ที่ดินอย่างผิดวิธี ทำให้หน้าดินเสียหาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดความแห้งแล้งไม่สามารถปลูกพืชได้ หรือปลูกได้แต่ผลผลิตลดลงมาก พื้นที่ถูกปล่อย หรือปลูกได้แต่ผลผลิตลดลงมาก พื้นที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง บางส่วนมีการขุดลูกรังไปขาย ดินส่วนใหญ่เป็นดินตื้น เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและปนกรวด มีชั้นดานแข็งอยู่ข้างล่างลึกประมาณ 40 เซนติเมตร จากผิวดินบน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529 ได้มีพระราชดำริ "ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ โดยทำการทดสอบวางแผน และจัดระบบปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในลักษณะศูนย์ศึกษาการพัฒนาขนาดย่อม"
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสนองพระราชดำริพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  2. เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตทดสอบวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรูปแบบ และส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร
  3. เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่โครงการให้เพียงพอกับการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร
  4. เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ให้คงความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  5. เป็นแหล่งศึกษาดูงาน

พื้นที่
ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 849-3-22 ไร่ ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-พื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนา 91-3-81 ไร่
-พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าถวาย 63-1-03 ไร่
-พื้นที่แปลงเดิม 694-2-38 ไร่

การดำเนินการ

งานศึกษาและพัฒนาที่ดิน
-ศึกษาพัฒนาวิธีการและรูปแบบของการอนุรักษ์ดินและน้ำ
-ศึกษาหาวิธีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
-ศึกษาวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม

งานชลประทาน
-จัดหาน้ำสนับสนุนและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในโครงการ
-ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ

งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
-ป้องกันรักษา และควบคุมไฟป่า เนื้อที่ 3,041-1-41 ไร่
-สำรวจพันธุ์ไม้ พบประมาณ 230 ชนิด และเป็นพันธุ์ไม้ที่จำแนกชนิดแล้ว 167 ชนิด
-สำรวจสัตว์ป่า พบสัตว์ชนิดต่างๆ ประมาณ 78 ชนิด
-ศึกษาระบบนิเวศป่าไม้
-จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและธรรมชาติศึกษา

งานศึกษาทดลอง และทดสอบการปลูกพืช
-ศึกษาและทดสอบการปลูกพืชชนิดต่างๆ เช่น พืชสวน พืชผัก และพืชไร่

งานประชาสัมพันธ์
-จัดฝึกอบรมและให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ

ฐานเรียนรู้

  • ฐานความลับของดิน
  • ฐานน้ำยาสารพัดประโยชน์
  • ฐานปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
  • ฐานปุ๋ยหมัก
  • ฐานจักรยานน้ำเพื่อการเกษตร
  • ฐานคนเอาถ่าน (น้ำส้มควันไม้)
  • ฐานมหัศจรรย์หญ้าแฝกและปุ๋ยพืชสดเพื่อการปรับปรุงดิน
  • ฐานพืชสมุนไพร

แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
แนวทางการจัดทรัพยากรระดับไร่นา เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ ราคาถูก และให้เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญ คือจะต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อน เป็นพระราชประสงค์อันดับแรก จึงเป็นที่มาของพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาการทำการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่
  2. เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
  3. เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจ นำไปประยุกต์ใช้

พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ม.2 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ รวมพื้นที่เฉลี่ยประมาณ 15 ไร่ แบ่งตามสัดส่วน 30-30-30-10 เปอร์เซ็นต์
-ที่อยู่อาศัย 1-2-00 ไร่
-แปลงปลูกข้าว 4-2-00 ไร่
-แปลงผลไม้ พืชไร่ และพืชผัก 4-2-00 ไร่
-สระน้ำ 4-2-00 ไร่

การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมข้าว จัดทำแปลงสาธิตการผลิตข้าวตามหลักการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ในพื้นที่ 4-2-00 ไร่
  2. กิจกรรมพืชผัก ทำการผลิตผักปลอดสารพิษตลอดฤดูกาล โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภค ผักที่ปลูกมีหลากหลายชนิด เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระจีน ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง คะน้า ชะอม มะเขือเปราะ มะละกอ ตะไคร้ พริกฯลฯ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตผักหลากหลายชนิด โดยการปลูกหมุนเวียนและรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต
  3. การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" พื้นที่ 4-2-00 ไร่ มีการปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ผสมผสานกัน เช่น กล้วย ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ มะนาว ฯลฯ
  4. กิจกรรมการใช้หญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ได้ปลูกหญ้าแฝกตามของสระเก็บน้ำ เพื่อให้ผู้ที่สนใจทั่วไปและเกษตรกรเห็นความสำคัญและประโยชน์จากหญ้าแฝก
  5. กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี จะเป็นหน่วยกลางการจัดฝึกอบรมและด้านการถ่ายทอดการเกษตรให้กัยเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจ

ที่มา :
ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเชาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี. (2553).แผ่นพับประชาสัมพันธ์.

อ่านต่อ >>