วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศักยภาพด้านการผลิตไฟฟ้าของจังหวัดราชบุรี


โรงไฟฟ้าราชบุรี
ที่มาของภาพ
http://www.thaicabincrew.com/forums/viewtopic.php?f=6&t=37120






















จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีโรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer : IPP) จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งนี้ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และใช้นำมันดีเซลกับน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำรอง มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 5,745 เมกะวัตต์ ซึ่งก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ดังกล่าว ได้มาจากแหล่งยาดานาและเยตากูของประเทศพม่า โดยที่โรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด, บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด และบริษัท ไตรเอนเนอจี้ จำกัด ตามลำดับ

นอกจากนี้ จ.ราชบุรี ยังมีโรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer : SPP) ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองในโรงงานหรือกิจการส่วนตัว และจำหน่ายไฟฟ้าส่วนที่เหลือคืนให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งนี้ เป็นโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ ใช้ชานอ้อยและก็าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 75.5 เมกะวัตต์ โดยที่โรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด, โรงงานน้ำตาลราชบุรี และบริษัท สยามคราฟท์ อุตสาหกรรมจำกัด

และ จ.ราชบุรียังมีโรงไฟฟ้าประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very small Power Producer : VSPP) ที่ผลิตไฟฟ้าเองในกิจการและจำหน่ายไฟฟ้าส่วนที่เหลือคืนให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งโรงไฟฟ้าประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง เช่น ฟาร์มสุกร และโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น

รายชื่อผู้ผลิตไฟฟ้าใน จ.ราชบุรี

เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
  1. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ต.พิกุลทอง อ.เมืองราชบุรี กำลังการผลิต 3,645 เมกะวัตต์ ประเภทพลังความร้อนร่วม
  2. บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ประเภทพลังความร้อนร่วม
  3. บริษัท ไตรเอนเนอจี้ จำกัด ต.หินกอง อ.เมือง กำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ ประเภทพลังความร้อนร่วม
  4. บริษัท สยามคราฟท์ อุตสาหกรรม จำกัด ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
  5. บริษัท เอเชี่ยนสุพีเรียฟู้ด จำกัด ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 3 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันแก๊ส
เชื้อเพลิงกากอ้อย
  1. บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 27.5 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
  2. บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 18 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
เชื้อเพลิงถ่านหิน
  • บริษัท ราชาชูรส จำกัด ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ ประเภทกังหันไอน้ำ
เชื้อเพลิงน้ำเสีย
  • หจก.อู๋ พาวเวอร์ แพนท์ ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง กำลังการผลิต 0.482 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
เชื้อเพลิงมูลสัตว์
  1. บริษัท เอส.พี.เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ กำลังการผลิต 2 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  2. วี.ซี.เอฟ กรุ๊ป จำกัด (วีระชัย ฟาร์ม) ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ กำลังการผลิต 1.9 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  3. บริษัท หนองบัว โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ต.บ่อกระดาน อ.ปากท่อ กำลังการผลิต 1.42 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  4. หจก.สุวดี ผลิตไฟฟ้า (อุดมเดช ฟาร์ม) ต.ห้วยไผ่ อ.เมืองราชบุรี กำลังการผลิต 0.45 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  5. วิเชียรฟาร์ม ต.จอมบึง อ.จอมบึง กำลังการผลิต 0.4 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  6. กิตติศักดิ์ฟาร์ม ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 0.16 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  7. คุณปรากาญจน์ กลิ่นสอน (ฟาร์มสุกร)  ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 0.16 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas
  8. คุณธีระ  อภิรัตนศิริเชษฐ์ (วิรัตน์ ฟาร์ม)  ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก กำลังการผลิต 0.02 เมกะวัตต์ ประเภท Biogas

ที่มาข้อมูล
สำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี. (2553). สถานการณ์พลังงานจังหวัดราชบุรี 2553. กระทรวงพลังงาน. (หน้า 93-129)
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถานการณ์การใช้พลังงานจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2552

ภาพประกอบที่ 1
การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจำแนกตามชนิดพลังงาน จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2552
ในปี พ.ศ.2552 จังหวัดราชบุรี (ดูภาพประกอบที่ 1) มีปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายรวมทั้งสิ้น 1,024.16 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นมูลค่าการใช้พลังงานรวม 34,320 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.54 ของประเทศ โดยมีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนร้อยละ 78.83 และพลังงานทดแทนร้อยละ 21.17 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด ทั้งนี้การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มีปริมาณ 849.20 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) ประกอบด้วย
  1. น้ำมันสำเร็จรูป มีการใช้ 364.45 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 35.68
  2. ไฟฟ้า มีการใช้ 148.69 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 14.52
  3. ถ่านหิน/ลิกไนต์ มีการใช้ 249.45 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 24.36
  4. ก๊าซธรรมชาติ มีการใช้ 43.72 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 4.27
  5. พลังงานทดแทน (ฟืน ถ่าน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะและก๊าซชีวภาพ) มีการใช้ 216.86 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หรือคิดเป็นร้อยละ 21.17


ภาพประกอบที่ 2
 การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2552

การใช้พลังงานด้านที่อยู่อาศัย (ดูภาพประกอบที่ 2) ใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 140.124 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 13.68 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 23.189 ktoe (19.872,222 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 16.55
  2. ไฟฟ้า จำนวน 32.442 ktoe (380,730,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 23.15
  3. ถ่านไม้ จำนวน 44.532 ktoe (65,140,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 31.78
  4. ฟืน จำนวน 39.819 ktoe (105,210,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 28.42
  5. แกลบ จำนวน 0.102 ktoe (300,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 0.07
  6. น้ำมันก๊าด จำนวน 0.040 ktoe (5,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.03
การใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 36.808 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 3.59 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 0.026 ktoe (22,777 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 0.07
  2. ไฟฟ้า จำนวน 0.050 ktoe (590,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 0.14
  3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 36.703 ktoe (42,580,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 99.71
  4. น้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 0.029 ktoe (40,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.08
การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 514.546 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 50.24 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 15.837 ktoe (13,572,222 กิโลกรรม) คิดเป็นร้อยละ 3.08
  2. ไฟฟ้า จำนวน 64.876 ktoe (761,370,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 12.60
  3. ก๊าซธรรมชาติ จำนวน 29.729 ktoe (1,210,000,000 ลูกบาศก์ฟุต) คิดเป็นร้อยละ 5.78
  4. ถ่านหิน จำนวน 249.451 ktoe (399,640,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 48.48
  5. น้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 0.447 ktoe (600,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.09
  6. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 5,447 ktoe (6,320,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 1.06
  7. น้ำมันดีเซล B5 จำนวน 2.482 ktoe (2,880,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.48
  8. น้ำมันเตา จำนวน 13.873 ktoe (14,740,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 2.70
  9. ฟืน จำนวน 6.123 ktoe (16,180,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 1.19
  10. แกลบ จำนวน 13.684 ktoe (40,150,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 2.66
  11. กากอ้อย จำนวน 87.029 ktoe (488,000,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 16.91
  12. วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จำนวน 25.568 ktoe (85,170,000 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 4.97
การใช้พลังงานในภาคคมนาคมขนส่ง (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 274.799 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 26.83 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 4.661 ktoe (3,994,444 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 1.70
  2. ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 13.991 ktoe (566,180,000 ลูกบาศก์ฟุต) คิดเป็นร้อยละ 5.09
  3. น้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 23.588 ktoe (31,660,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 8.58
  4. น้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 2.436 ktoe (3,270,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.89
  5. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 150.999 ktoe (175,178,078 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 54.95
  6. น้ำมันดีเซล B5 จำนวน 57.399 ktoe (66,590,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 20.89
  7. แก๊สโซฮอล์ 91 จำนวน 6.243 ktoe (8,380,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 2.27
  8. แก๊สโซฮอล์ 95 จำนวน 15.482 ktoe (20,780,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 5.63
การใช้พลังงานในภาคพาณิชยกรรมและบริการ (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 54.049 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ 5.28 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 5.322 ktoe (4,561,111 กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 9.85
  2. ไฟฟ้า จำนวน 48.718 ktoe (571,750,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 90.13
  3. น้ำมันเตา จำนวน 0.009 ktoe (10,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 0.02
การใช้พลังงานภาคอื่นๆ (เหมืองแร่และการก่อสร้าง) (ดูภาพประกอบที่ 2) มีปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 3.838 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) คิดเป็นร้อยละ  0.37 ซึ่งแยกได้เป็น
  1. ไฟฟ้า จำนวน 2.604 ktoe (30,560,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 67.85
  2. น้ำมันเตา จำนวน 0.244 ktoe (260,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 6.36
  3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จำนวน 0.990 ktoe (1,150,000 ลิตร) คิดเป็นร้อยละ 25.79
ที่มาข้อมูล
สำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี. (2553). สถานการณ์พลังงานจังหวัดราชบุรี 2553. กระทรวงพลังงาน. (หน้า 32-60)
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โครงการตามแผนปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2554 จังหวัดราชบุรี

ในบัญชีโครงการและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ ตามแผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2554 ของจังหวัดราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 171,557,900 บาท มีโครงการที่น่าสนใจติดตามผลการดำเนินการ ดังนี้

ผลผลิต : การพัฒนาเศรษฐกิจ
กิจกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างถนน  ระบบประปา และระบบท่อระบายน้ำ แต่ยังมีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านหนองปากชัฎ ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง จำนวน 6,500,000 บาท (โครงการชลประทานราชบุรี)
  • ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านบึงเหนือ ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จำนวน 3,500,000 บาท (โครงการชลประทานราชบุรี)
  • ฯลฯ
กิจกรรม พัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ  มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • พัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงรุก จำนวน 2,000,000 บาท (ท่องเที่ยวและกีฬา จ.ราชบุรี)
  • ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกเก้าชั้น จำนวน 2,000,000 บาท (อ.สวนผึ้ง)
  • ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกห้วยสวนพลู จำนวน 2,000,000 บาท (อ.สวนผึ้ง)
  • ถนนสายวัฒนธรรม จำนวน 791,000 บาท (สนง.วัฒนธรรม จ.ราชบุรี)
  • "แปดเสน่ห์ราชบุรี แปดวิถีไทย สานใยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" จำนวน 800,000 บาท (สนง.วัฒนธรรม จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาการรับรองมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว และการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย จำนวน 500,000 บาท  (มรภ.หมู่บ้านจอมบึง)
  • พัฒนาจุดชมวิวบริเวณยอดเขาสน จำนวน 2,000,000 บาท (อ.สวนผึ้ง)
  • ฯลฯ
กิจกรรม พัฒนาตลาด การค้า และการลงทุน มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • ส่งเสริมการผลิตพืชอาหารปลอดภัย (GAP) จำนวน 2,842,000 บาท (เกษตร จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาระบบการผลิตและรับรองฟาร์มสัตว์น้ำ (GAP) จำนวน 1,000,000 บาท (ประมง จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาศักยภาพการผลิตน้ำนมในฟาร์มโคนมมาตรฐาน จำนวน 1,180,000 บาท (ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี)
  • RATCHABURI GOAT CENTER จำนวน 382,000 บาท (ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี)
  • ฯลฯ

ผลผลิต : การพัฒนาด้านสังคม
กิจกรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิต มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • พัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 1,570,000 บาท (เกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี)
  • สวนไม้มงคลพระราชทาน สวนไม้วรรณคดี และสวนไม้สมุนไพร ในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 2,403,000 บาท (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี)
  • พัฒนาระบบน้ำสนับสนุนพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 12,000,000 บาท (โครงการชลประทานราชบุรี)
  • พัฒนาชุมชนเกษตรกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 2,550,0000 บาท (เกษตร จ.ราชบุรี)
  • ฯลฯ
กิจกรรม สร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • ปรับปรุงอาคารสโมสรเสือป่าเป็นพิพิธภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1,500,000 บาท (ศูนย์อนามัยที่ 4)
  • ส่งเสริมการทอผ้าพื้นเมือง (กะเหรี่ยง) จำนวน 90,000 บาท (อ.สวนผึ้ง/โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง)
  • จัดทำถนนเด็กเดิน (เปิดพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน) จำนวน 648,000 บาท (ศตส.จ.รบ.)
  • ฯลฯ

ผลผลิต : การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรม อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • โครงป้องกันการบุกรุกและฟื้นฟูสภาพป่า (รวม 4 กิจกรรม) จำนวน 2,219,000 บาท (ทรัพยากรป่าไม้ที่ 10)
  • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จำนวน 1,500,000 บาท(อุทยานฯ)
กิจกรรม อนรุักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ  มีโครงการที่น่าสนใจติดตาม ดังนี้
  • โครงการพัฒนาความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ (รวม 4 กิจกรรม) จำนวน 7,500,000 บาท
  • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และรักษาสภาพแวดล้อม จำนวน 2,990,000 บาท (อ.บ้านโป่ง)

ผลผลิต : การบริหารจัดการ
  • มีโครงการเดียวคือ ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จำนวน 10,000,000 บาท (สำนักงานจังหวัดราชบุรี)

-------------------------------------------------------

ที่มา :
สำนักงานจังหวัดราชบุรี กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี. (2553). การประชุมคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดราชบุรี ครั้งที่ 1/2553. เอกสารประกอบการประชุม เมื่อ 22 ต.ค.2553 ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ อ.เมือง จ.ราชบุรี.
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศึกษารถไฟทางคู่ นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน (ตอนที่ 2)


การศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ เส้นทางสายใต้ : ช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถลดเวลาการเดินทางจากรุงเทพฯ-หัวหิน จากเดิม 3 ชั่วโมง 30 นาที ลดลงมาเป็น 2 ชั่วโมง

สถานีต่างๆ ใน 165 กิโลเมตร ผ่าน 27 สถานี และ 4 ป้ายหยุดรถที่ตั้งอยู่ตามชุมชนในแต่ละอำเภอตามแนวเส้นทางรถไฟ (* หมายถึง ป้ายหยุดรถ)
  1. นครปฐม
  2. พระราชวังสนามจันทร์*
  3. โพรงมะเดื่อ
  4. คลองบางตาล
  5. ชุมทางหนองปลาดุก
  6. บ้านโป่ง
  7. นครชุมน์
  8. คลองตาคต
  9. โพธาราม
  10. เจ็ดเสมียน
  11. บ้านกล้วย
  12. สะพานราชบุรี*
  13. ราชบุรี
  14. บ้านคูบัว
  15. บ่อตะคร้อ
  16. บ้านป่าไก่*
  17. ปากท่อ
  18. ห้วยโรง*
  19. บางเค็ม
  20. เขาย้อย
  21. หนองปลาไหล
  22. บางจาก
  23. เพชรบุรี
  24. เขาทโมน
  25. หนองไม้เหลือง
  26. หนองจอก
  27. หนองศาลา
  28. บ้านชะอำ
  29. บ้านทรายเหนือ
  30. ห้วยทรายใต้
  31. หัวหิน
ทางคู่สู่แดนใต้เสริมสร้างการท่องเที่ยว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่สวยงามและได้รับความนิยมจากชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมโยงฐานผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก เป็นประตูการค้าและการขนส่งเชืื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาภาคใต้จำเป็นต้องอาศัยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจในการที่มีที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการขนส่งสินค้า โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ อันเป็นโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งที่มีความทันสมัย

ทางคู่ดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
ในการดำเนินโครงการ ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแนวเส้นทางช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน พบว่า มีแม่น้ำสายต่างๆ อยู่ในแนวเส้นทาง เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น และมีบางช่วงของแนวเส้นทางที่ผ่านชุมชน การดำเนินงานอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านการระบายน้ำ คุณภาพอากาศ การคมนาคมขนส่ง เสียงและความสั่นสะเทือน การโยกย้าย รวมทั้งการแบ่งแยกชุมชน จึงพิจารณาออกแบบ แก้ไขมาตรฐานการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มความเหมาะสม และมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด โดยกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญดังนี้

การแบ่งแยกชุมชน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : การออกแบบรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางเพื่อป้องกันอันตรายและลดอุบัติเหตุ ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกชุมชน ทำให้คนในบริเวณนั้นสัญจรไปมาลำบากขึ้น
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : จัดให้มีทางเชื่อมหรือทางลอดในระยะที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรแก่ชุมชน, ตรวจสอบการใช้งานของทางลอด ทางข้าม และสะพานลอยอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีปัญหาต้องรีบแก้ไขทันที

การอพยพโยกย้าย
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : การพัฒนาโครงการเน้นการใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำให้ชุมชนที่ปลูกสร้างเข้ามารุกล้ำพื้นที่ดังกล่าวต้องโยกย้ายออกไป
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : ประชาสัมพันธ์แนวทางในการให้ความช่วยเหลือด้านอพยพโยกย้ายสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ, จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน, สำรวจรายละเอียดทรัพย์สินที่จะต่้องรื้อย้ายอย่างละเอียด, ดำเนินการจ่ายค่ารื้อย้ายและให้ความช่วยเหลือด้านการอพยพโยกย้ายตามกระบวนการที่เหมาะสมอย่างเป็นธรรม

การระบายน้ำ
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : โครงสร้างสะพานและเสาตอม่อในบริเวณที่มีแม่น้ำอยู่ในแนวเส้นทาง เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น อาจก่อให้เกิดการกีดขวางการไหลของน้ำและลดประสิทธิภาพของการระบายน้ำ
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : ออกแบบโครงสร้างที่ผ่านน้ำ โดยกำหนดให้ตวามยาวสะพานมากกว่าหรือเท่ากับความกว้างของทางน้ำ เพื่อรองรับการระบายน้ำ, หลีกเหลี่ยงการเปิดหน้าดินบริเวณริมน้ำพร้อมกันทั้งหมด โดยเลือกเปิดพื้นที่เฉพาะบริเวณที่ทำงานจริงเท่านั้น, การกองดิน ทราย และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 50 เมตร, ควบคุมการชะล้างหน้าดินบริเวณริมน้ำ โดยการปลูกพืชคลุมดิน

เสียงและความสั่นสะเทือน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทางรถไฟน้อยกว่า 200 เมตร จะได้รับผลกระทบทางเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากการขุดเจาะการก่อสร้าง และการขนส่ง
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : กำหนดให้ช่วงเวลาก่อสร้างระหว่างเวลา 08:00-17:00 น., จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน, ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงแผนการก่อสร้าง

การคมนาคมขนส่ง
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : การก่อสร้างที่กีดขวางการจราจรในบริเวณพื้นที่โครงการอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการจราจรติดขัด
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ : ประชาสัมพันธ์และปิดประกาศล่วงหน้า, กำหนดให้มีป้ายเตือน แผงกั้น กรวย แสงสว่าง ไฟกระพริบ ในแต่ละส่วนของพื้นที่ก่อสร้าง, ควบคุม/จัดการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ เพื่อป้องกันปัญหาด้านการจราจรในถนนบริเวณพื้นที่โครงการ

ประโยชน์ของการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ต่อภูมิภาค
  • ย่นระยะทางจากเส้นทางเดิมอันเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน และลดระยะเวลาด้านการขนส่ง ทำให้ต้นทุนในการขนส่งต่ำลง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยให้เดินทางถึงที่หมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับนักท่องเที่ยวที่มุ่งหน้าลงสู่ภาคใต้
  • เชื่อมต่อเครือข่ายรถไฟทางคู่ลงสู่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์และจังหวัดชุมพร ช่วยเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวและเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าภูมิภาคได้เป็นอย่างดี
  • สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ 273,000 ล้านบาทภายใน 30 ปี
ประโยชน์ของระบบรถไฟทางคู่สายใต้ระยะเร่งด่วน ช่วงนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน
เมื่อรถไฟทางคู่ เส้นทางสายใต้ช่วง นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน เปิดให้บริการใน พ.ศ.2558 จะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
  • เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางรถไฟ จาก 1 ล้านตันต่อปี เป็น 1.5 ล้านตันต่อปี
  • เพิ่มจำนวนผู้โดยสารจากปีละ 6 ล้านคนเป็น 12 ล้านคน
  • เพิ่มความจุของทางเฉลี่ยได้มากกว่า 200 ขบวนต่อวัน
  • เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ในการเดินทางจากกรุงเทพฯ-หัวหิน จากปัจจุบันเกือบ  3 ชั่วโมง จะเหลือเพียงไม่ถึง 2 ชั่วโมง
ที่มา :
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2553). ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ เส้นทางสายใต้. เอกสารข้อเท็จจริง ชุดที่ 2 (มิถุนายน 2553) ใช้ประกอบการลงพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ครั้งที่ 2. 
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศึกษารถไฟทางคู่ นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน (ตอนที่ 1)

ในการประชุมครั้งที่ 11/2552 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ของคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ได้มีมติให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการ ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1) ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2552 - 2553 (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2)เพื่อช่วยเร่งรัดการลงทุนที่สำคัญภายในประเทศและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งนับวันจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ก็ได้รับทราบและเห็นชอบมติดังกล่าวและถือเป็นนโยบายที่สำคัญจากรัฐบาลที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินโครงการโดยเร็ว

ต่อมาในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ครั้งที่ 16/2552 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งเห็นชอบในหลักการพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 767 กิโลเมตร ในเส้นทางสำคัญ 5 เส้นทางคือ
  1. ลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง 118 กิโลเมตร
  2. มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร
  3. ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร
  4. นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร
  5. ประจวบคิรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร


กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1) เพื่อพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้ทันสมัยและมีศักยภาพทัดเทียมในระดับสากล

การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น ระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1) เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 ถึงเดือนสิงหาคม 2553 โดยมีแผนการดำเนินงานดังนี้
  1. การทบทวนผลการศึกษาและการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการวิเคราะห์หาแนวทางในการเพิ่มสัดส่วนการเดินทางและการขนส่งโดยระบบรางในอนาคต
  2. การสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารและสินค้า เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ โดยการจัดการปรับปรุงโครงขยายระบบรางให้เหมาะสม
  3. งานวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมการเงิน และแนวเส้นทางที่เหมาะสมในการลงทุน เพื่อศึกษา คัดเลือกโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ในเส้นทางที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ไม่น้อยกว่า 2 เส้นทาง (ระยะทางรวมประมาณ 400 กิโลเมตร)
  4. การออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) เพื่อจัดทำแผนผังแนวแบบเบื้องต้น (Preliminary Drawings) และออกแบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ สำหรับบริการผู้โดยสารและสินค้าย่านสถานี และประมาณราคาก่อสร้างและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเบื้องต้นเมื่อออกแบบเรียบร้อยแล้ว
  5. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งหามาตรการแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น ช่วยให้เกิดประโยชน์จากการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  6. การมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์  เพื่อผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ให้เป็น “ระบบหลัก” ในการขนส่งสินค้าและบริการที่ส่งเสริมศักยภาพทางธุรกิจ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ เป็นแกนหลักการพัฒนาที่สำคัญ ในการพัฒนาเมือง คุณภาพชีวิต เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการประกอบด้วย
  • บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
  • บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
  • บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • บริษัท สแปน จำกัด
  • บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด
ที่มา :
-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร . (2553).พร้อมก้าวสู่การพัฒนา.ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1). [Online]. Available :http://www.doubletrackthailand.com/info.php . [2553 กรกฎาคม 1 ].
-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2553). ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟทางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ 1). แผ่นพับประชาสัมพันธ์.
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานอยู่ใน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี สร้างขึ้นพระองค์แรก ในปี พ.ศ.2518 โดยความคิดริเริ่มของนักเรียนที่มีความจงรักภักดีต่อองค์พระปิยมหาราช คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และศิษย์เก่าของโรงเรียน จึงได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ในบริเวณโรงเรียน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบรมรูปนี้หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 190 เซนติเมตร ประทับยืนบนฐานสูง 3 เมตร โดยอาจารย์จำนงค์ ฤทธิ์นุ่ม เป็นผู้ปั้น
อ.จำนงค์ ฤทธิ์นุ่ม
ผู้ปั้นองค์แรก
ต่อมาในปี พ.ศ.2539 ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น ได้ประสานงานกับกรมศิลปากร ขอพระบรมราชานุญาตสร้างบรมรูปใหม่ หล่อด้วยโลหะขนาดเท่าพระองค์จริง
เดือน มิถุนายน พ.ศ.2541 กรมศิลปากรดำเนินการสร้างพระบรมรูปเสร็จสมบูรณ์
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2541 ประกอบพิธีบวงสรวงพระบรมรูปองค์เดิม ไปประดิษฐานในเบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์
วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2541 ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปองค์ใหม่ขึ้นประดิษฐานยังแท่นพระบรมรูปองค์เดิม
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นมหามงคลสมัย ที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของชาวเบญจม์และชาวราชบุรี ตลอดไป

ที่มา :
สมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. (2548). ครบรอบ 118 ปี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์.
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

บ้านปรานี


บ้านปรานี
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จ.ราชบุรี

ความเป็นมา
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จ.ราชบุรี เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม จัดตั้งขึ้นโดยประกาศของคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2546 โดยมีเขตอำนาจใน 8 จังหวัด คือ ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคิรีขันธ์

บ้านปรานี ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จ.ราชบุรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแล ให้การอภิบาลในเรื่องการกิน อยู่ หลับ นอน การบำบัด แก้ไขฟื้นฟูและพัฒนา เด็กและเยาวชนที่อยู่ ณ บ้านปรานีฯ จะได้รับการศึกษาทั้งสายสามัญและสายวิชาชีพ ควบคู่ไปกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การเสริมสร้างระเบียบวินัย จริยธรรมและศีลธรรม กิจกรรมบำบัด เป็นต้น โดยเด็กและเยาวชนหญิง ทั้ง 8 จังหวัด ประกอบด้วย

  1. เด็กและเยาวชนหญิงฟื้นฟูยาเสพติด (รอผลการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด)
  2. เด็กและเยาวชนหญิงสถานแรกรับ (รอคำพิพากษา)
  3. เด็กและเยาวชนหญิงที่เข้ารับการฝึกอบรม (ตามคำสั่งศาลพิพากษาให้ฝึกอบรม)

หน่วยงานภายในแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

  1. ฝ่ายอภิบาล มีหน้าที่ดูแลการกินอยู่หลับนอนของเด็กและเยาวชน
  2. ฝ่ายการศึกษา มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนสายสามัญและสายวิชาชีพ
  3. ฝ่ายโยธา มีหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ และเคลื่อนย้ายเยาวชนตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ

วิสัยทัศน์
บ้านปรานี ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จ.ราชบุรี จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเด็กและเยาวชนหญิงตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพและผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคม

ยุทธศาสตร์
  1. พัฒนาด้านปัจจัยพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในบ้านปรานีฯ ให้มีความเหมาะสมต่อการบำบัดแก้ไขและฟื้นฟู เด็กและเยาวชนหญิงในความควบคุมดูแล ภายใต้มาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ
  2. ดำเนินการประสานเครือข่าย ทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทุกขั้นตอน
  3. เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์
    -การเผยแพร่ความรู้ตามชุมชน
    -การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
    -ส่งเสริมด้านกีฬา ดนตรีและนาฎศิลป์
    -ส่งเสริมให้ครอบครัวของเด็กและเยาวชนเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขความประพฤติของบุตรหลานตนในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น
    -ให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญต่อความต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น กิจกรรมวันพ่อ กิจกรรมวันแม่ ฯลฯ
    -มาตรการในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยเด็กและเยาวชนหญิงที่มีความประพฤติดี ใกล้ครบกำหนดปล่อยตัวและบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่พิจารณาแล้วว่ามีความพร้อม สามารถรับตัวไปทดลองอยู่ร่วมกับครอบครัวได้ ให้ทดลองอยู่ร่วมกับครอบครัวก่อนได้รับการปล่อยตัว โดยมีการติดตามผลเป็นระยะ จนถึงวันครบกำหนดปล่อยตัว

ดอกไม้ประจำบ้านปรานี : ดอกนางแย้ม

สีประจำบ้านปรานี : สีชมพูและสีน้ำเงิน
-สีชมพู : ความอ่อนโยนและอ่อนหวาน
-สีน้ำเงิน : ความหนักแน่น เข้มแข็งและอดทน
อุดมคติ : อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ แข็งแกร่งแต่ไม่แข็งกร้าว
ผู้อำนวยการศูนย์ฯ : นายยุทธนันท์ ยิ้มพูลทรัพย์

ที่มา
-ข้อมูล : ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จ.ราชบุรี. (2553). บ้านปรานี. แผ่นพับประชาสัมพันธ์.
-ภาพ :
http://www.bloggang.com/data/charlie-seen029/picture/1265435898.jpg
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง จ.ราชบุรี

กว่าจะมาเป็นสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง
ปี พ.ศ.2528 กระทรวงเกาตรและสหกรณ์ได้จัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีประจำภาคต่างๆ ภาคละ 1 แห่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในวโรกาสมหามงคลสมัย พระราชพิธีฌแลมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ 2 กรกฎาคม 2531 และในวันที่ 2 สิงหาคม 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดสวนพฤกษศาสตร์ฯ
ความเป็นมาเกี่ยวกับราชวงศ์จักรี กล่าวคือ ในปี ร.ศ.114 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินถ้ำจอมพล ได้ทรงแวะประทับพักผ่อนที่บริเวณเขาประทับช้าง ต่อมาปี พ.ศ.2547 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินเขาประทับช้างในการนำกองเสือป่าเดินทางไกล
นับแต่การดำเนินการจัดสร้างเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมา สวนพฤกษศาสตร์ฯ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่ง กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2547 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ สวนพฤกษศาสตร์ฯ จึงย้ายไปสังกัดสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 5 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จนกระทั่งปี พ.ศ.2548 สวนพฤกษศาสตร์เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 3 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
ทรัพยากรเพิ่มพูน แหล่งเรียนรู้สมบูรณ์ ศูนย์ท่องเที่ยวมาตรฐาน ก้าวหน้างานวิชาการ วรรณคดีสืบสาน องค์การพัฒนา
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ในวรรณคดี เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งศึกษาความรู้ทางวิชาการ และด้านพฤกษศาสตร์
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่ ต.ปากช่อง อ.จอมบึง, ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี พื้นที่ 1,287 ไร่
สภาพทั่วไป
ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบล้อมภูเขาประทับช้าง ชนิดของดินเป็นดินร่วนปนทราย สภาพป่ามีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ สวนพฤษศาสตร์ฯ เป็นแหล่งรวบรวมจัดปลูกพันธุ์ไม้ในวรรณคดีตามบทกลอน 10 เรื่อง อันได้แก่ อิเหนา ขุนช้างขุนแผน ดาหลัง พระอภัยมณี รามเกียรติ์ ลิลตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย อุณรุฑ กาพย์เห่เรือฯ นิราศเมืองเพชร และต้นไม้ในพุทธประวัติ ซึ่งแบ่งเป็น 33 แปลง รวมพันธุ์ไม้ 357 ชนิด และเป็นสถานที่สำหรับศึกษาความรู้ด้านทรัพยากรป่าไม้และพฤกษศาสตร์ กิจกรรมค่ายพักแรม ฐานเรียนรู้ทางธรรมชาติ ท่องเที่ยว พักผ่อน จัดประชุม อบรม แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
จุดเด่นที่น่าสนใจ
  • แปลงปลูกพรรณไม้ในวรรณคดี
  • เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบนภูเขา
  • สวนสมุนไพร
  • สวนไม้มงคลประจำจังหวัด
  • สวนไม้ในพุทธประวัติ
  • สวนไม้จามบทเพลง "อุทยานดอกไม้"

สถานที่ติดต่อ
อาคารศาลาเกษตร สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โทร.08-1944-9718

ที่มา :
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง จ.ราชบุรี. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์. แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรีปี 2553.

อ่านต่อ >>

อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริฯ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยในการศึกษาสภาพธรรมชาติ ทั้งยังทรงเล็งเห็นว่าควรจะมีการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติไว้ให้เยาวชนและราษฎรในท้องถิ่น ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจใช้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ โดยเริ่มกิจกรรมปลูกป่าชุมชน ในตำบลสวนผึ้ง และตำบลตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ต่อมาคณะทำงานที่เกี่ยวข้องจึงได้คัดเลือกพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ในความดูแลของกองทัพบก ดำเนินโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ ซึ่งมีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ สมควรแก่การอนุรักษ์และจัดเป็นสถานที่เรียนรู้ในลักษณะ "โรงมหรสพทางธรรมชาติ"
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การดำเนินงานโครงการเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมพาพันธ์ 2547 ได้เสด็จพระราชดำเนินติดตามการดำเนินงานโครงการอีกครั้ง และในการนี้ทรงเปิดป้ายอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ
วัตถุประสงค์ของอุทยานธรรมชาติวิทยา
  1. อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้เป็นสถานที่ศึกษาสภาพธรรมชาติ
  2. ทำการศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งประชาชนทั่วไป โดยระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายภายหลัง
  3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนธรรมชาติ
  4. ส่งเสริมให้ประชาชน และองค์กรราชการส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการ

แผนการดำเนินงานมี 4 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ด้านการบริการทางวิชาการ
  2. ด้านการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
  3. ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
  4. ด้านการศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติ

อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริฯ เปิดให้บริการแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจศึกษาธรรมชาติ พน้อมบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ประกอบด้วย

ศาลาข้อมูลธรรมชาติ
เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั่วไปของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ ทั้งข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ข้อมูลทางกายภาพ และข้อมูลทางชีวภาพที่สำรวจพบในพื้นที่ โดยนำมาจัดเป็นนิทรรศการ สิ่งตีพิมพ์ วิดีทัศน์ พร้อมทั้งให้บริการห้องสมุดเพื่อการสืบค้นข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในถิ่นทุรกันดานอีกด้วย โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ประกอบด้วย 2 เส้นทาง โดยในการเดินศึกษาธรรมชาติตลอดเส้นทางจะได้พบ น้ำตก ธารน้ำร้อน พรรณพืช และสัตว์ต่างๆ ซึ่งใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ถึง 3 ชั่วโมง
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
เป็นกิจกรรมที่สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนานผสานกับกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเนื้อหาเหมาะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ที่พัก
มีบริการบ้านพักและเต็นท์ ไว้สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเยาวชน ตลอดจนนักวิชาการที่ต้องการเข้าพักแรมเพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ โดยบ้านพักรองรับได้จำนวน 50 คน อีกทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์ไว้บริการ
ร้านของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์โครงการ
แหล่งรวมเครื่องดื่มและสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งหนังสือและโปสการ์ดของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในโครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริ และผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ติดต่อสอบถามรายละเอียด
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10303 โทร.0-2282-6511 ต่อ 22 โทรสาร.0-2281-3923
สำนักงานโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 254 ม.7 ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 70180 โทร.08-4938-1284
ที่มา :
สำนักงานโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์. แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี 2553.
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ที่ตั้ง : ม.2 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โทร.0-3222-6744 โทรสาร.0-3222-6744 (ดูแผนที่)
ความเป็นมา
เดิมพื้นที่โครงการเป็นฟาร์มปศุสัตว์และปลูกพืชไร่ มีการใช้ที่ดินอย่างผิดวิธี ทำให้หน้าดินเสียหาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดความแห้งแล้งไม่สามารถปลูกพืชได้ หรือปลูกได้แต่ผลผลิตลดลงมาก พื้นที่ถูกปล่อย หรือปลูกได้แต่ผลผลิตลดลงมาก พื้นที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง บางส่วนมีการขุดลูกรังไปขาย ดินส่วนใหญ่เป็นดินตื้น เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและปนกรวด มีชั้นดานแข็งอยู่ข้างล่างลึกประมาณ 40 เซนติเมตร จากผิวดินบน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529 ได้มีพระราชดำริ "ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ โดยทำการทดสอบวางแผน และจัดระบบปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในลักษณะศูนย์ศึกษาการพัฒนาขนาดย่อม"
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสนองพระราชดำริพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  2. เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตทดสอบวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรูปแบบ และส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร
  3. เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่โครงการให้เพียงพอกับการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร
  4. เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ให้คงความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  5. เป็นแหล่งศึกษาดูงาน

พื้นที่
ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 849-3-22 ไร่ ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-พื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนา 91-3-81 ไร่
-พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าถวาย 63-1-03 ไร่
-พื้นที่แปลงเดิม 694-2-38 ไร่

การดำเนินการ

งานศึกษาและพัฒนาที่ดิน
-ศึกษาพัฒนาวิธีการและรูปแบบของการอนุรักษ์ดินและน้ำ
-ศึกษาหาวิธีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
-ศึกษาวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม

งานชลประทาน
-จัดหาน้ำสนับสนุนและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในโครงการ
-ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ

งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
-ป้องกันรักษา และควบคุมไฟป่า เนื้อที่ 3,041-1-41 ไร่
-สำรวจพันธุ์ไม้ พบประมาณ 230 ชนิด และเป็นพันธุ์ไม้ที่จำแนกชนิดแล้ว 167 ชนิด
-สำรวจสัตว์ป่า พบสัตว์ชนิดต่างๆ ประมาณ 78 ชนิด
-ศึกษาระบบนิเวศป่าไม้
-จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและธรรมชาติศึกษา

งานศึกษาทดลอง และทดสอบการปลูกพืช
-ศึกษาและทดสอบการปลูกพืชชนิดต่างๆ เช่น พืชสวน พืชผัก และพืชไร่

งานประชาสัมพันธ์
-จัดฝึกอบรมและให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร ประชาชน และผู้ที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ

ฐานเรียนรู้

  • ฐานความลับของดิน
  • ฐานน้ำยาสารพัดประโยชน์
  • ฐานปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
  • ฐานปุ๋ยหมัก
  • ฐานจักรยานน้ำเพื่อการเกษตร
  • ฐานคนเอาถ่าน (น้ำส้มควันไม้)
  • ฐานมหัศจรรย์หญ้าแฝกและปุ๋ยพืชสดเพื่อการปรับปรุงดิน
  • ฐานพืชสมุนไพร

แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
แนวทางการจัดทรัพยากรระดับไร่นา เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ ราคาถูก และให้เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญ คือจะต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อน เป็นพระราชประสงค์อันดับแรก จึงเป็นที่มาของพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาการทำการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่
  2. เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
  3. เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจ นำไปประยุกต์ใช้

พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ม.2 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ รวมพื้นที่เฉลี่ยประมาณ 15 ไร่ แบ่งตามสัดส่วน 30-30-30-10 เปอร์เซ็นต์
-ที่อยู่อาศัย 1-2-00 ไร่
-แปลงปลูกข้าว 4-2-00 ไร่
-แปลงผลไม้ พืชไร่ และพืชผัก 4-2-00 ไร่
-สระน้ำ 4-2-00 ไร่

การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมข้าว จัดทำแปลงสาธิตการผลิตข้าวตามหลักการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ในพื้นที่ 4-2-00 ไร่
  2. กิจกรรมพืชผัก ทำการผลิตผักปลอดสารพิษตลอดฤดูกาล โดยเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภค ผักที่ปลูกมีหลากหลายชนิด เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระจีน ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง คะน้า ชะอม มะเขือเปราะ มะละกอ ตะไคร้ พริกฯลฯ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตผักหลากหลายชนิด โดยการปลูกหมุนเวียนและรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต
  3. การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" พื้นที่ 4-2-00 ไร่ มีการปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ผสมผสานกัน เช่น กล้วย ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ มะนาว ฯลฯ
  4. กิจกรรมการใช้หญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ได้ปลูกหญ้าแฝกตามของสระเก็บน้ำ เพื่อให้ผู้ที่สนใจทั่วไปและเกษตรกรเห็นความสำคัญและประโยชน์จากหญ้าแฝก
  5. กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี จะเป็นหน่วยกลางการจัดฝึกอบรมและด้านการถ่ายทอดการเกษตรให้กัยเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจ

ที่มา :
ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเชาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี. (2553).แผ่นพับประชาสัมพันธ์.

อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี


โครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี ตั้งอยู่บริเวณเทือกอุทยานหินเขางู ต.เขางู อ.เมือง จ.ราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้แก่ข้าราชการ พ่อต้า ประชาชน และพสกนิกรทุกภาคส่วนในเรื่องโครงการตามพระราชดำริต่างๆ โครงการประกอบด้วยพื้นที่ 5 ส่วน ดังนี้
พื้นที่ส่วนที่ 1 เนื้อที่ 240 ไร่ จะก่อสร้างพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นประติมากรรมลายเส้นโลหะ ขนาดสูง 60 เมตร ประดิษฐานอย่างถาวรบนหน้าผาเขางู ซึ่งสูง 180 เมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบของกรมศิลปากร งบประมาณการก่อสร้างจะใช้จากเงินบริจาคจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ

-อาคารหลัก แสดงพระราชประวัติพระบรมราชจักรีวงศ์ในอดีตทุกพระองค์ พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จเจ้าฟ้าทุกพระองค์ ส่วนแสดงประวัติศาสตร์ราชบุรี แสดงนิทรรศการเพื่อการศึกษาเรียนรู้โครงการตามพระราชดำริ ในทุกประเภทของโครงการตามพระราชดำริทั่วประเทศ
พื้นที่ส่วนที่ 2 พื้นที่ต่อเนื่องเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ ประกอบด้วย
  • สวนไม้ในวรรณดคี สวนพันธุ์ไม้สมุนไพร
  • ลานพักแรม แคมป์พักแรมของนักเรียน นักศึกษา
  • สวนป่าไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดและพื้นที่นันทนาการ
  • แปลงสาธิตโครงการตามพระราชดำริ ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่

พื้นที่ส่วนที่ 3 พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเขตโบราณสถาน ได้แก่ บริเวณเทือกเขางูทั้งหมดที่ยังมิได้ถูกระเบิดทำลาย ซึ่งยังคงสภาพป่าไม้ธรรมชาติอันเป็นที่อาศัยของฝูงลิงนับพันตัว และเขตโบราณสถานสมัยทวาราวดี-อยุธยา เนื้อที่รวมประมาณ 1 ตารางกิโลเมตรเศษ

พื้นที่ส่วนที่ 4 ที่ดินสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 51 ไร่เศษ ห่างจากพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดีประมาณ 2 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก จะเป็นศูนย์สาธิตโครงการตามพระราชดำริด้านการเกษตร ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ และโครงการแก้มลิง โดยมีที่ดินของราษฎรโดยรอบแหล่งน้ำ เข้าร่วมจัดทำการเกษตรเป็นหมู่บ้านตัวอย่างโครงการตามพระราชดำริด้านการเกษตร และการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมจำนวนเนื้อที่ดินของเกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการ ประมาณ 1,000 ไร่
พื้นที่ส่วนที่ 5 ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลเจดีย์หัก ห่างจากพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี เพียง 1 กิโลเมตรทางทิศใต้ เป็นกลุ่มเกษตรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการปลูกและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และผลิตข้าวเปลือกและข้าวสารที่มีคุณภาพ มีสมาชิกเกษตรทำนา 370 ราย 287 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 6,200 ไร่ พื้นที่ส่วนนี้ จะเป็นพื้นที่ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้การผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และการผลิตข้าวสารที่มีคุณภาพ
สถานะโครงการในปัจจุบัน
1.พื้นที่ส่วนที่ 1 ได้ดำเนินการดังนี้
1.1 จังหวัดราชบุรีได้ว่าจ้างบริษัท เคนเบอร์ จีโอเทคนิค(ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการเสริมสร้างความมั่นคงเบื้องต้นหน้าผาเขางู เพื่อทำความมั่นคงแข็งแรงของหน้าผาเขางูก่อนการสร้างพระฉายาสาทิสลักษณ์ โดยใช้งบประมาณ 9,262,000 บาท (สัญญาเริ่ม 26 กันยายน 2551 และสิ้นสุดวันที่ 24 มีนาคม 2552) และจ่ายค่าควบคุมงาน จำนวน 35,250 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,297,250 บาท ปัจจุบันมียอดเงินคงเหลือที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป จำนวน 2,359,873.44 บาท
1.2 การดำเนินงานจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ และอาคารเฉลิมพระเกียรติ(สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.ราชบุรี รับผิดชอบ) มีรายละเอียด ดังนี้
1.2.1 การก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ (พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแบบแปลน ทำให้จำนวนหลุมที่ต้องเจาะเพื่อทำการยึดหน้าผามีจำนวนมากขึ้น โดยจำเป็นต้องเสริมฐานการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 500 จุด งบประมาณประมาณ 5,000,000 บาท จึงจะดำเนินการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่ง จ.ราชบุรี ได้ตั้งงบประมาณสนับสนุนโดยใช้งบพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 จำนวน 5,500,000 บาท
1.2.2 การก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคารหมายเลข 9) แบบแปลนและแผนงานก่อสร้างได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว แต่เนื่อจากการก่อสร้างต้องใช้งบประมาณประมาณ 230,000,000 บาท ปัจจุบันไม่สามารถหาแหล่งงบประมาณสนับสนุนได้
2.พื้นที่ส่วนที่ 2 ได้ดำเนินการดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่บริเวณเทือกเขางู (สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี รับผิดชอบ) ได้รับการสนับสนุนจากงบพัฒนา จ.ราชบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 5 โครงการ คือ
2.1 โครงการสวนไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด งบประมาณ 760,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด ดำเนินการปลูกในพื้นที่ 10 ไร่
2.2 โครงการสวนไม้สมุนไพรและสวนไม้ในวรรณคดี งบประมาณ 1,500,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกรวบรวมไว้ในอุทยานแห่งความจงรักภักดี ในเนื้อที่ 30 ไร่
2.3 โครงการจัดระบบน้ำหยดหล่อเลี้ยงแปลงสาธิตอุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 500,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำระบบน้ำในการดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูกในอุทยานแห่งความจงรักภักดี ในเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่
2.4 โครงการพัฒนาแหล่งศึกษาพันธุ์ไม้ในอุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 136,960 บาท เพื่อวัตถุประสงค์จัดทำป้ายเพื่อแสดงรายละเอียดต้นไม้และป้านสวนไม้
2.5 โครงการจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณอุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 328,000 บาท เพื่อก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์พร้อมห้องสุขา จำนวน 1 หลัง
3.พื้นที่ส่วนที่ 3 ได้ปรับปรุงโบราณสถานที่มีอยู่คือ "โครงการปรับปรุงบันไดทางขึ้นรอยพระพุทธบาทถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม" (สำนักงานศิลปากรที่ 1 รับผิดชอบ) งบประมาณ 1,500,000 บาท ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
4. พื้นที่ส่วนที่ 4 ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์สาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ในโครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี รับผิดชอบ) ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2552ได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงการศูนย์สาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ (ศูนย์การเรียนรู้บ้านหนองมน) งบประมาณทั้งสิ้น 964,000 บาท เพื่อศึกษาเรียนรู้โครงการตามพระราชดำริด้านการเกษตร ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร โดยมีกิจกรรม ดังนี้
  • กิจกรรมอำนวยการ งบประมาณ 114,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการเพาะเห็ด งบประมาณ 92,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการเลี้ยงปลา งบประมาณ 88,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการเลี้ยงสัตว์ปีก งบประมาณ 80,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการปลูกพืช งบประมาณ 82,500 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการปลูกข้าว งบประมาณ 20,000 บาท
  • กิจกรรมสาธิตการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ งบประมาณ 17,500 บาท
  • กิจกรรมปรับปรุงสภาพพื้นที่แปลงและทำถนนลูกรัง งบประมาณ 470,000 บาท

ซึ่งทุกกิจกรรมได้ดำเนินการตามแผนด้วยดี ไม่มีอุปสรรคปัญหาแต่อย่างใด

5.พื้นที่ส่วนที่ 5 ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน บ้านรังไม้แดง (สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี) ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชน งบประมาณ 2,100,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อการสร้างศูนย์เรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ชาวนา เป๋นศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวของเกษตรกร และการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมชาวนา และเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านผลิตข้าวแบบครบวงจร เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตข้าวของจังหวัดราชบุรี รวมทั้งพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถสรุปผลการดำเนินกิจกรรม ได้ดังนี้

  1. ก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ชาวนา งบประมาณ 1,500,000 บาท
  2. จัดสร้างพระแม่โพสพ งบประมาณ 100,000 บาท ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ภายนศูนย์เรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ชาวนา งบประมาณ 120,000 บาท
  4. จัดซื้อเครื่องโสตทัศนูปกรณ์พร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 200,000 บาท
  5. จัดทำนิทรรศการเทคโนโลยีการเกษตร งบประมาณ 90,000 บาท
  6. จัดทำเอกสารแนะนำ งบประมาณ 90,000 บาท

6.จังหวัดราชบุรีได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดีในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 คือ "โครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริในอุทยานแห่งความจงรักภักดี" งบประมาณ 27,473,000 บาท โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (ศูนย์การเรียนรู้บ้านหนองใน) งบประมาณ 1,570,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 3
  2. กิจกรรมปลูกสวนไม้มงคลพระราชทานและสวนไม้วรรณคดีและสวนไม้สมุนไพร งบประมาณ 2,403,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 2
  3. กิจกรรมพัฒนาระบบน้ำสนับสนุนพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี งบประมาณ 12,000,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 1
  4. กิจกรรมพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี (ศูนย์การเรียนรู้บ้านรังไม้แดง) งบประมาณ 6,000,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 5
  5. กิจกรรมปรับเสริมความแข็งแรงหน้าผาเขางูเพื่อรองรับการก่อสร้างพระฉายาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี งบประมาณ 5,500,000 บาท ดำเนินการในพื้นที่ส่วนที่ 1

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมและตรวจพื้นที่โครงการอุทยานแห่งความจงรักภักดี เมื่อ 3 ก.พ.2553 ณ ที่ห้องประชุมคลินิกหมออาคาร โดยมี นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธาน

อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพและเสือป่า

ชื่อโครงการ : โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพ และเสือป่า เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

หลักการและเหตุผล
ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ก่อตั้งและเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2512 ตอนนั้นใช้ชื่อว่า ศูนย์อนามัยแม่และเด็กเขต 7 กรมอนามัย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามโครงสร้างการบริหารของกรมอนามัยเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 7 ราชบุรี ในปี 2530 ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี ในปี 2534 และเปลี่ยนเป็นศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ในปี 2545



ภายในศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี มีอาคารเก่าอยู่ 1 หลังมีชื่อว่า อาคารสโมสรเสือป่า ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันปีที่สร้าง มีเพียงหลักฐานยืนยันว่าได้ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ.2456 เนื่องจากมีการกล่าวในจดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พ.ศ.2456 ความว่า

...วันที่ 29 กันยายน เวลาบ่าย เสด็จเยี่ยมโรงทหารกองพลที่ 4 มณฑลราชบุรี...แล้วเสด็จประทับเสวยเครื่องว่างที่สโมสรเสือป่าเมืองราชบุรี แล้วเสด็จทอดพระเนตรไฟฉายของทหารที่หน้าสโมสรเสือป่า แล้วเสด็จกลับพลับพลาที่ประทับ...

ลักษณะของสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ทรงปั้นหยาตามแบบที่นิยมสร้างกันในสมัยรัชกาลที่ 5-6 หลังคาดว่าได้ถูกบูรณะเปลี่ยนใหม่จากหลังคามุงกระเบื้องว่าวเป็นกระเบื้องลอนแทน ชั้นล่างตรงกลางเป็นบันไดไม้ขนาดใหญ่ ด้านข้างเป็นห้องใหญ่สองห้อง พื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้ง 2 ชั้น เป็นราวระเบียงปูนประดับด้วยหัวเสือปูนปั้น พื้นระเบียงชั้นล่างด้านหน้าปูกระเบื้องเคลือบเขียนสี ส่วนด้านหลังเป็นพื้นไม้ อาคารชั้นบนเป็นพื้นไม้ทั้งหมด ช่วงกลางราวระเบียงมีป้าย สโมสรเสือป่า

ตามประวัติศาสตร์ขอกิจการเสือป่าพบว่า หลังจากรัชกาลที่ 6 ทรงจัดตั้งกองเสือป่าครั้งแรกเมือ่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2454 ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง(โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2454 และโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกิจการลูกเสือไปยัง 18 มณฑล ในปี 2455 มีกองลูกเสือ 162 กอง ต่อมาทรงกำหนดให้กองเสือป่าแต่ละกองมี สโมสรเสือป่า สำหรับเป็นที่ชุมนุมสังสรรค์ เป็นที่เล่นกีฬาต่างๆ อีกทั้งเป็นที่อบรมสั่งสอนและประชุมปรึกษากิจการเสือป่าด้วย สโมรเสือป่าจัดตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2454 บริเวณสนามเสือป่า ต่อมาทรงให้จัดตั้งสโมสรเสือป่าขึ้นตามหัวเมืองต่างๆ เมื่อกองเสือป่าเลิกไป สโมสรเสือป่าได้แปรสภาพเป็นสโมรข้าราชการหรือเป็นสโมสรของจังหวัดหรือเป็นสถานที่ราชการไป
อาคารสโมสรเสือป่าจังหวัดราชบุรีหลังนี้ จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่อกิจการเสือป่า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จมาประทับพัก นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี เคยใช้เป็นสถานที่ให้บริการอนามัยแม่และเด็ก รวมทั้งให้บริการวางแผนครอบครัวของศูนย์ฯ มาก่อน อาคารหลังนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน กับกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2542
ด้วยปี พ.ศ.2554 เป็นปีมหามงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย รัฐบาลจึงได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และเป็นที่กองเสือป่าได้ก่อตั้งครบ 100 ปีพอดี แม้ว่าปัจจุบันกองเสือป่าจะยกเลิกไป แต่กิจการลูกเสือยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันนั้ มีพระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ.2551 รองรับภารกิจนี้อยู่ โดยมีกระทรวงศึกษาะการกำกับดูแล
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาประทับเสวยเครื่องว่าง ณ อาคารสโมสรเสือป่าในปี พ.ศ.2456 และอีก 56 ปี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารศูนย์อนามัยที่ 4 จังหวัดราชบุรี ในปี 2512
ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพและเสือป่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เพื่ออนุรักษ์อาคารสโมสรเสือป่า ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เคยเป็นที่ประกอบการกิจการลูกเสือไทยและเคยเป็นสถานที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพของกรมอนามัย ให้เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
วัตถุประสงค์
  1. เพื่ออนุรักษ์อาคารสโมสรเสือป่า ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จฯ มาประทับ ให้คงอยู่สภาพดังเดิม
  2. เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ ด้านวิวัฒนาการบริการส่งเสริมสุขภาพและกิจการเสือป่า ของจังหวัดราชบุรี
  3. เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่าของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมไทยและเห็นคุณประโยชน์ของการบริการส่งเสริมสุขภาพต่อการพัฒนาสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนเห็นคุณค่าของกิจการลูกเสือต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย
  4. เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรกษ์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดราชบุรี

กิจกรรมหลัก

  1. สำรวจอาคารและออกแบบโดยขอความร่วมมือกรมศิลปากรและพิพิธภัณฑ์สยาม
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน
  3. จัดทำผังแสดงเนื้อหาและการนำเสนอประกอบด้วย (1)การบริการส่งเสริมสุขภาพ (2) กิจการเสือป่า
  4. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ดำเนินการปรับปรุงและตบแต่งอาคารสถานที่ ติดตั้งโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ
  6. กราบบังคมเชิญเสด็จพระราชดำเนินเปิดพอพิธภัณฑ์

งบประมาณ

  1. ค่าสำรวจออกแบบ 200,000 บาท (ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี)
  2. ค่าปรับปรุงอาคารโครงสร้างภายนอก 1,500,000 บาท (ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี)
  3. ค่าปรับปรุงอาคารและโครงสร้างภายใน 1,000,000 บาท(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ)
  4. ค่าอุปกรณ์ตกแต่งภายใน 1,000,000 บาท (กองทุนพัฒนาชุมชน จ.ราชบุรี ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า)
  5. ค่าจัดทำชุดนิทรรศการถาวร 2,000,000 บาท (กองทุนพัฒนาชุมชน จ.ราชบุรี ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า)
  6. ระบบไฟฟ้าของอาคาร 500,000 บาท (งบพัฒนาจังหวัด)
  7. ครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ 1,000,000 บาท (งบพัฒนาจังหวัด)

รวม 8,200,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินการ ต.ค.2553-ก.ย.2554

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี
  2. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
  3. สำนักศิลปากรที่ 1 จ.ราชบุรี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จะได้พิพิธภัณฑ์การส่งเสริมสุขภาพและเสือป่าที่ได้มาตรฐานสวยงาม สมพระเกียรติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งของ จ.ราชบุรี และทำให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นคุณประโยชน์ของการบริการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัวต่อการพัฒนาสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเห็นคุณค่าของกิจการลูกเสือต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย

นายจรัญ จักรวาลชัยศรี นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ ผู้เสนอโครงการ
นายแพทย์พนัส พฤกษ์สุนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ผู้อนุมัติโครงการ


อ่านต่อ >>